หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สถานะหมู่บ้าน : อยู่รอด
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2556 | 253,000|210,000|16,000|194,000 | 2013128945371.pdf | 201437932481.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=566] วันที่รายงาน [18/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20134181335321.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=727] วันที่รายงาน [6/8/2556] | |||
สมัครสมาชิก ประชุมรับฟังความคิดเห็นและความต้องการฝึกอบรม ทิศทางที่ต้องการพัฒนา | ค่าใช้จ่าย : 16,000 จำนวนผู้รับบริการ : 33 ปัญหาอุปสรรค : ๑ ผู้เข้าร่วมบางส่วนเป็นตัวแทนของครอบครัวเกษตรกร ๒ เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา จึงขอทำนาให้แล้วเสร็จก่อน แนวทางแก้ไข : ๑ ประสานกรรมการหมู่บ้านให้ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นเกษตรกรผู้ปฏิบัติจริง ๒ กำหนดการอบรมเป็นหลังฤดูทำนา ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=728] วันที่รายงาน [6/8/2556] | |||
ภายหลังจากการตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำจากคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีฯ ให้วางแผนใหม่ในการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาการผลิตสับปะรด ดังนั้นจึงมีการปรึกษาและร่วมวางแนวทางใหม่กับผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับคำแนะนำต่างๆ แต่อยู่ในกรอบโครงการที่เสนอ โดยให้นำข้อมูลในพื้นที่ที่ปลูกสับปะรดนางแลและภูแลในพื้นที่ใกล้เคียงมาประกอบ และออกแบบสอบถามความต้องการพัฒนาศักยภาพโดยตรงจากเกษตรกร แล้วได้ข้อสรุปดังนี้ ก. หัวข้อการฝึกอบรม โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการผลิตสับปะรดที่มีคุณภาพ ๑. การวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหารหลักในดินปลูกในไร่สับปะรด ๒. การผสมปุ๋ยบำรุงดินให้เหมาะสมกับธาตุอาหารในดินและสับปะรด(ปุ๋ยสั่งตัด ม.เกษตร)) ๓. เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวและการบรรจุหีบห่อ เพื่อการรักษาคุณภาพสับปะรด ๔. การใช้สารเคมี(ที่จำเป็น)ในไร่สับปะรด ๕. เกษตรทางเลือก(อินทรีย์ หรือ ระบบน้ำหยด) ในการทำไร่สับปะรด(กำลังหาผู้สนใจ) ซึ่งหัวข้อที่ได้เป็นความต้องการของกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมและนำเสนอ ข. ช่วงเวลาการจัดอบรม หลังจากการติดตามการดำเนินงานจากคณะที่ปรึกษาฯ และการวางแนวทางใหม่ตามคำแนะนำ ผู้สนใจขอให้มีการอบรมช่วงสิงหาคมเป็นต้นไป เนื่องจากช่วงมิถุนายน และกรกฎาคม เป็นช่วงที่เกษตรกรทำนา(สมาชิกส่วนใหญ่) หากมีการอบรมอาจทำให้ผู้เข้าร่วมมีน้อยและไม่ตอเนื่อง ดังนั้นช่วง มิถุนายน กรกฎาคม กระผมจึงได้จัดทีมงานออกสัมภาษณ์เกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกสับปะรด ในทุกขั้นตอนของรอบการผลิต(เตรียมดิน-การจำหน่าย) ซึ่งจะรวบรวมเป็นเอกสารเผยแพร่ให้หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อไป ค. การรายงานความก้าวหน้าโครงการ เนื่องจากการวางแผนใหม่(อยู่ภายใต้กรอบเดิมที่เสนอ) ได้เลื่อนเวลาการจัดกิจกรรมออกไปตามภาระที่เกษตรกรต้องทำ จึงทำให้ไม่มีกิจกรรมเกิดขึ้นในช่วงนี้ ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลการประเมินรายงานความก้าวหน้าโครงการ ดังนั้นจึงมีข้อมูลเฉพาะผู้สมัครบางส่วน ง. ผู้สมัคร และผู้สนใจ เนื่องจากการจัดโครงการฯมุ่งเน้นเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด ที่ขึ้นกับการบริหารจัดการของหมู่บ้านในการแสวงหาสมาชิกที่เกิดจากความต้องการจริง แต่เนื่องจากในช่วง มิถุนายน กรกฏาคม เกษตรกรติดภาระการทำนา(ส่วนใหญ่) จึงทำให้ผู้เข้าร่วมบางส่วนเป็นตัวแทนครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่เข้ามารับฟัง ดังนั้นจะได้ประสานกับกรรมการหมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกรที่ปฏิบัติจริงเข้าร่วมเพื่อผลประโยชน์แก่เกษตรกรและหมู่บ้าน ดังนั้นข้อมูลการประเมินและติดตามผลจึงไม่เหมาะที่สรุปที่จะทำให้ข้อมูลอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง ง. งบประมาณ การใช้จ่ายงบประมาณ มีการควบคุมให้เป็นไปตามโครงการ โดยมีการใช้จ่ายไปแล้วประมาณ ๑๖,๐๐๐ บาท จากที่ได้รับทั้งหมด ๒๑๐,๐๐๐ บาท ซึ่งจะไม่มีการเบิกจ่ายเมื่อไม่ได้จัดกิจกรรม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=825] วันที่รายงาน [8/10/2556] | |||
แผนการดำเนินงานช่วงขยายเวลาปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013108105951.pdf | ||
2557 | 300,000|240,000|211,000|29,000 | 2014430149571.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=990] วันที่รายงาน [9/7/2557] | |||
๑. ประชุมและปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำชุมชน โดยให้มีการขยายการรับสมาชิกเพิ่มจากหมู่บ้านหรือกลุ่มอื่นอย่างน้อย ๒ กลุ่ม ๒. ให้มุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมในปีที่ ๒ ตามที่ผู้ประเมินให้ข้อเสนอแนะ - การลดต้นทุนการผลิต - การแปรรูปสับปะรดเพื่อเพิ่มมูลค่า - จัดหาพื้นที่ต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ ๓. จัดตั้งกลุ่มและกรรมการกลุ่ม โดยให้มีการเก็บค่าบำรุงจากสมาชิก (ค่าบำรุงอาจอยู่ในรูปเงินหรือสับปะรด) เพื่อให้มีทุนในการดำเนินงาน ในอนาคต หากโครงการนี้หมดลง ๔. ให้กรรมการชุมชนประกาศรับสมาชิกในปีที่ ๒ โดยสามารถเพิ่มได้ในวันอบรม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 35 ปัญหาอุปสรรค : ข้อเสนอ ปัญหาที่อาจพบ การแปรรูปอาจไม่อยู่ในความสนใจของสมาชิกโดยส่วนใหญ่ เนื่องจากนิยมขายสด แนวทางแก้ไข : -สร้างกลุ่มผู้สนใจให้มีความเข้มแข็งและผลที่ได้สามารถแก้ปัญหาราคาตกต่ำของสับปะรด ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1149] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
ศึกษาความสำเร็จของการทำผลไม้อบแห้งเพื่อการส่งออก ณ โรงงานปิยะมงคล ตำบลน้ำดิบ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน - ศึกษาและแนวทางการอบแห้งผลไม้ ซึ่งเป็นโรงอบลำไยเพื่อส่งออก - ได้แนวคิด คิอ ตลาดผลไม้อบแห้งยังเป็นที่ต้องการทั้งใประเทศและต่างประเทศ - ให้ทำผลไม้อบแห้งที่มีคุณภาพและปริมาณตามต้องการให้ได้ - การอบแห้งลำไยชนิดแกะเปลือกต้องมีการใช้สารเคมีในการรักษาสภาพเนื้อ ซึ่งสับปะรดก็ต้องใช้เช่นกัน แต่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน - ควรมีตู้อบแห้งที่รักษาอุณหภูมิให้คงที่ เพื่อให้คุณภาพเนื้อเช่น สี คงที่ และอุณหภูมิขณะอบไม่ควรขึ้นลงเกิน ๑๐ องศา - เตาไฟฟ้าาต้นทุนจะสูง เตาแก๊สต้นทุนต่ำลงมา ปัจจุบันโรงงานใช้ฟืน | ค่าใช้จ่าย : 6,000 จำนวนผู้รับบริการ : 3 ปัญหาอุปสรรค : -ต้องหาเตาอบแห้งผลไม้ ที่คุมอุณหภูมิได้ -เทคโนโลยีการอบแห้งผลไม้ที่มีการใช้สารเคมี ชุมชนยังขาด แนวทางแก้ไข : -ปีต่อไป ให้ชุมชนเสนอของบจาก อปท. - มหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดวิทยากรจากโปรแกรมเทคโนโลยีการอาหารเข้ามาถ่ายทอดเทคโนโลยีการอบแห้ง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1150] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
สมาชิก ศึกษาและขอเทคโนโลยี เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์จากสำนักงานพลังงานจังหวัด - ศึกษาเทคโนโลยีเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ - ศึกษาแนวคิดและการออกแบบเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ ตามความเหมาะสม | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 5 ปัญหาอุปสรรค : -ปัญหาจากการต้องมีเตาอบแห้งที่ต้องควบคุมอุณหภมิให้คงที่ หากใช้ไฟฟ้าหรือแก๊สหุงต้ม ก็เป็นการลงทุนสูง แนวทางแก้ไข : -ใช้เตาพลังงานแสงอาทิตย์แทน เตาไฟฟ้าหรือเตาจากแก๊สหุงต้ม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1151] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
ตัวแทนสมาชิก - เข้าชมโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สร้างโดยกระทรวงพลังงาน เพื่ออบแห้งสมุนไพร และให้ชุมชนทำผลิตภัณฑ์ที่สามารถขายได้ เกี่ยวกับสมุนไพรอบแห้ง ณ บ้านร่องปลายนา อำเภอแม่ลาว เชียงราย - เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้และเป็นแรงจูงใจให้ สมาชิกได้นำมาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์จากสับปะรด | ค่าใช้จ่าย : 5,000 จำนวนผู้รับบริการ : 3 ปัญหาอุปสรรค : - โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มีขนาดใหญ่และต้นทุนสูง แนวทางแก้ไข : - ประสานงานติดต่อกลุ่มวิสาหกิจบ้านแม่ปูคาที่เคยได้รับการสนับสนุน เตาพลังงานแสงอาทิตย์ ให้ผู้สนับสนุนมาสร้างเตาอบในชุมชน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1152] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
สมาชิก -ทำประชาคมหมู่บ้านและสมาชิกกลุ่มหมู่บ้านสับปะรดฯ -เพื่อขอความคิดเห็นในการที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจะขอตั้ง โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ มูลค่า 300,000 บาท มาตั้ง ณ พื้นที่ข้างศาลาประชาคมของหมู่บ้าน ซึ่งมติที่ประชุมให้สร้างได้ -โดยภาระหน้าที่ของโครงการหมู่บ้านวิทาศาสตร์และเทคโนโลยี จะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเทคโนโยีในการอบแห้งสับปะรด ซึ่งการแปรรูปอย่างอื่นให้สำคัญลำดับรองลงไป | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - หากก่อสร้างโรงอบพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว จะมีแนวทางในการใช้อย่างไร แนวทางแก้ไข : ให้มีการประชุมอีกครั้ง หากโรงอบแห้งดำเนินการแล้วเสร็จ ดังนี้ -จัดทำระเบียบ ข้อตกลง และข้อปฏิบัติต่างๆ - จัดตั้งกลุ่มสมาชิกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแบ่งสรรการใช้โรงอบ(หากทำเสร็จ) ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1153] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
สมาชิก -ศึกษาการปลูกพืชแบบลดต้นทุน โดยวิธีเกษตรอินทรีย์ ณ มหาวิทยาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมืองเชียงราย - แนวทางการสร้างผลผลิตทางการเกษตรแบบลดต้นทุนปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้เกษตรอินทรีย์ - การสร้างความตระหนักในการลดและเลิกการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : -ความไม่มั่นใจในการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมี แนวทางแก้ไข : - เชิญวิทยากร มาบรรยายในสถานที่จริง - นำตัวแทนเยี่ยมชมไร่หรือสวนที่มีการใช้สารอินทรีย์แทนสารเคมี และให้ค่าตอบแทนสูง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=1154] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
สมาชิก -ศึกษาความสำเร็จของชุมชนในการสร้างผลิตภัณฑ์ของชุมชน ที่มีผลงานระดับประเทศ ณ บ้านร่องปลายนา อ.แม่ลาว จเชียงราย -ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ ที่จัดแสดงในระดับประเทศ เช่น -สมุนไพรอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ - มะขามจิ๊ดจ๊าด สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับสับปะรดได้ - บ่อหมักปุ๋ยจากวัสดุเหลือใช้ | ค่าใช้จ่าย : 20,000 จำนวนผู้รับบริการ : 12 ปัญหาอุปสรรค : - ไม่มีเทคโนโลยีและความชำนาญที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป แนวทางแก้ไข : หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการแปรรูป ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=1155] วันที่รายงาน [2/10/2557] | |||
สมาชิก จัดทำแผนเสนอมหาวิทยาลัย(คณะ) เพื่อจัดทำโครงการถ่ายทอด เทคโนโลยีแก่สมาชิก ในหัวข้อดังนี้ - การอบแห้งสับปะรด เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน - การทำน้ำสับปะรด เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน - การทำสับปะรดแช่อิ่ม เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน - เกษตรอินทรีย์ การลดต้นทุนในการทำไร่สับปะรด โดยวิทยากรให้เป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ที่ใช้วิทยากรหลักของมหาวิทยาลัย (โปรแกรมเทคโนโลยีการอาหาร) | ค่าใช้จ่าย : 120,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : สมาชิกมีความสนใจในหัวข้ออบรมไม่เหมือนกัน แนวทางแก้ไข : จัดเป็นกลุ่มย่อยให้เลือกตามความสนใจ ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 240,000|240,000||240,000 | 2016314137271.pdf | |
รายงานผลการดำเนินงาน |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates