หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์
สถานะหมู่บ้าน : แม่ข่ายขยายลูก
ลูกข่าย 3 พื้นที่
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2555 | 393,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20125151057221.pdf | 20128292313431.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=206] วันที่รายงาน [2/4/2555] | |||
โครงการเพิ่งได้รับการอนุมัติ และอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงานกับผู้ประสานงานประจำหมู่บ้าน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการหมู่บ้าน ว และ ท ประจำปีงบประมาณ 2555 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=207] วันที่รายงาน [2/4/2555] | |||
5.1 .ประชุมชี้แจงร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และผู้ประกอบการชุมชน เพื่อวางแนวทางในการดำเนินงานและศึกษาปัญหากระบวนการ/วิธีการ/การบริหารจัดการชุมชนร่วมกัน ผู้เข้าร่วม 50 คน 5.2 . ประสานงานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินงานและการจัดเก็บหลักฐานสำหรับการรายงานความก้าวหน้า ผู้เข้าร่วม 10 คน 5.3.ประสานงานท้องถิ่นอำเภอท่าปลา เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมภายในท้องที่ของท้องถิ่นอำเภอท่าปลา ศึกษาข้อมูลพื้นที่และบริบทของชุมชนในการรวมตัวเพื่อรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ ศึกษาปัญหาของเทคโนโลยีที่ท้องถิ่นต้องการ ผู้เข้าร่วม 10 คน | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : ปัญหาอุปสรรค : 6.1. ปัญหาเรื่องเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ผู้ประกอบการขาดคือเครื่องจักรในการดำเนินงาน เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตให้ได้ปริมาณเท่าที่ตลาดต้องการแต่ปัจจุบันผู้ประกอบการในชุมชนใช้วิธีการผลิตแบบเดิมคือใช้จักรถีบในการกระเทาเม็ดมะม่วงซึ่งต้องใช้แรงงานคนและได้คราวละ 1 เม็ดทำให้เกิดความล่าช้า 6.2 ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ แหล่งองค์ความรู้ที่ผู้ประกอบการต้องการยังไม่มีในพื้นที่ แนวทางแก้ไข : 7.1 อาจารย์รัฐพล ดุลยะลาได้นำปัญหามาศึกษา กระบวนการผลิตเพื่อนำไปสร้างเป็นต้นแบบในการสร้าง วัตกรรมใหม่ ที่ช่วยลดระยะเวลาการกระเทาให้มีความสะดวกและรวดเร็ว แต่ต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณในการสร้างเครื่องจักร 7.2 จัดอบรมให้ผู้ประกอบการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ฝึกปฏิบัติและให้กลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าประสบการณ์ความสำเร็จของแต่ละคนให้กลุ่มนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=246] วันที่รายงาน [14/6/2555] | |||
1. ดำเนินการ รวมกลุ่มและนำกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เข้ารับฟังการเสวนาแลกเปลียนเรียนรู้ ร่วมกับหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ในเครือข่าย ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ชุมชน ครั้งที่ 6 ณ ตลาดกลางผลไม้เทศบาลตำบลหัวดง (OTOP) ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2555 และเยี่ยมชมนิทรรศการหมู่บ้านวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเครือข่าย แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ผลที่ได้ ปรากฏ ว่า กลุ่มหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้รับทราบผลที่จะได้จากการเข้าร่วมโครงการและเสนอปัญหาที่กลุ่มต้องการและ คือการจัดการอบรมการแปรรูป น้ำมะม่วงหิมพานต์เนื่องจากได้รับข้อมูลจากผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องการให้กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน และอีกหนึ่งโครงการคือ 2. โครงการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในรูปแบบ ของคุ๊กกี้ และอาหารว่าง ขนมขบเคี้ยว และท๊อฟฟี่ และของดีที่ทางกลุ่มทำอยู่และขายดี คือ กระยาสาทเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ทางกลุ่มต้องการให้สร้างเครื่องกวนขนม เป็นเครื่องทุนแรงให้ โดยหัวหน้าโครงการ (อาจารย์รัฐพล ดุลยะลา) ได้มีแนวคิด ในการสร้างเครื่องให้ในปีถัดไป และได้ชี้แจงไปทางกลุ่มแล้ว ส่วนการแปรรูป หัวหน้าโครงการได้จัดทำโครงการอบรมการแปรรูปผลิตภํณฑ์ที่ทางกลุ่มต้องการให้ ในวันที่ 15-21 กรกฏาคม 2555 ณ ห้องปฏิบัติการทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยสารพัดช่าง ให้กับแกนนำและสมาชิกในกลุ่ม ได้รับความรู้ และสามารถนำไปประกอบการผลิตได้ ที่บ้านหรือที่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หมู่ 2 ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ - ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและโครงการ ทั้งสิ้น 112500 บาท ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ร่วมโครงการ ทั้งสิ้น 67 คน 3.โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์การเรียนรุ้ชุมชน หมู่ 2 ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จำนวนผู้เข้าอบรม 70 คน ผลที่ได้ ได้รับการสนับสนุนในการผลิตบรรจุภัณฑ์ หีบห่อ สำหรับจำหน่าย 4. โครงการอบรมให้ความรู้และแนวทางในการผลิตเครื่องจักรทุ่นแรงในการผลิตอาหาร ณ ศูนย์การเรียนรุ้ชุมชน หมู่ 2 ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ ผลที่ได้ หัวหน้าโครงการ ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการสร้างเครื่องจักรสำหรับอาหาร ได้ข้อมูลในการดำเนินงาน ในปีถัดไป จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม 70 คน | ค่าใช้จ่าย : 112,500 จำนวนผู้รับบริการ : ปัญหาอุปสรรค : - ขาดแคลนเครื่องจักร ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เม็ดมะม่วง ทางกลุ่มต้องการเครื่องกวน สำหรับกวน ขนมกระยาสาท และท๊อฟฟี่เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นขนมที่ได้รับความนิยมในพื่นที่นี้ แนวทางแก้ไข : - ใช้เครื่องมือที่มีอยู่เดิมทดแทนได้ เนื่องจากทางกลุ่ม ได้รับงบสนับสนุนให้สร้างโรงเรือนในการผลิตอาหาร ที่ได้รับมาตรฐาน จาก อย.กระทรวงการอาหารและยา (อย.) และมีเครื่องมือในการผลิตเกือบ ครอบ สมบูรณ์ แต่ในส่วนที่ขาดได้รับ งบสนับสนุน จาก หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ ในการจัดซื้อวัสดุ ทดแทน ที่จำเป็น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=345] วันที่รายงาน [23/8/2555] | |||
- ดำเนินงานจัดโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ใช้ในการกระเทาะเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ให้กลุ่มสมาชิก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานในปีที่ 2 โดยวิทยากร อาจารย์รัฐพล ดุลยะลา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ใช้ในการแปรรูปอาหารและงานไฟฟ้า ให้แก่สมาชิกในกลุ่มวิสากิจชุมชนแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีผู้เข้ารับการอบรม ทั้งสิ้น 52 คน ให้ความสนใจในเครื่องต้นแบบที่ทางวิทยากรได้ศึกษาข้อมูลมาใช้ในการถ่ายทอดให้กลุ่มสมาชิก ได้รับความรู้ - ทางกลุ่มสมาชิก มีผลงานที่ได้รับให้ผลิตภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็น สินค้า OTOP ระดับ 5 ดาว และมีความคิดที่จะคงระดับคุณภาพของสินค้าให้มีคุณภาพต่อไป - สถานที่ที่ใช้ในการอบรม อาคารศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านตีนดอย ตำบลหาดล้า อำเภท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ - งบประมาณที่ใช้ในการอบรม ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2555 จำนวนเงิน 67,500 บาท | ค่าใช้จ่าย : 67,500 จำนวนผู้รับบริการ : 52 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=378] วันที่รายงาน [21/9/2555] | |||
ได้ดำเนินการ สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานรูปเล่มสมบูรณ์ ตามแบบฟอร์มของ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 5 เล่ม โดยส่งให้ คลีนิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรตรดิตถ์ - จ้ดเก็นลงแผ่น CD - จัดทำแผ่นพับ เพื่อนำไปเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ จำนวน 500 ฉบับ - ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงาน กับ คลีนิควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำผู้นำชุมชน และประธานกลุ่ม เข้าร่วมงาน ในครั้งนี้ | ค่าใช้จ่าย : 40,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2556 | 300,000|240,000|240,000|ใช้หมด | 2013130916321.pdf | 201394123251.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=487] วันที่รายงาน [1/3/2556] | |||
- เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 คณะทำงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์นำทีมโดยอาจารย์รัฐพล ดุลยะลา เข้าพบประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (นางพิกุล บุญเมิง ) และสมาชิกกลุ่มบางส่วนที่มีบทบาทในการดำเนินงาน เพื่อร่วมปรึกษาและหาแนวทางในการจัดทำบรรจุภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานและมีอัตลักษณ์ประจำกกลุ่ม | ค่าใช้จ่าย : 120,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=493] วันที่รายงาน [15/3/2556] | |||
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม คณะดำเนินงานหมู่เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ลงพื้นที่ประชุมหารือร่วมกับประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เนื่องจากทางกลุ่มแจ้งให้คณะดำเนินการหมู่บ้านว่า ต้องการส่งประกวดผลิตภัณฑ์คัดสรรของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขอรับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แต่ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ได้รับการพัฒนาให้มีความทันสมัยและเป็นที่น่าสนใจ จึงต้องการให้คณะดำเนินงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ให้ความรู้ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ดังนั้นคณะทำงานจึงได้จัดนัดประชุมกลุ่ม ประมาณ 20 คนเพื่อหาแนวทางและให้ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการค้าให้กับกลุ่ม โดยใช้พื้นที่ อาคารเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนแปรรูป หมู่ 2 บ้านตีนดอย ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จากการประชุมกลุ่มย่อย ได้ผลการดำเนินงาน เป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็น 2 ผลิตภัณฑ์ คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ และเม็ดมะม่วงหิมพานต์อบเนย โดยใช้งบประมาณ จากโครงหารหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสนับสนุนในการส่งผลิตภัณฑ์ประกวดคัดสรร | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : บรรจุภัณฑ์ที่กลุ่มใช้ในปัจจุบัน ไม่เป็นมาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ และไม่สร้างอัตลักษณ์ให้กลับชุมชน ทำง่าย สะดวก แต่ไม่ได้มาตรฐานของบรรจุภัณฑ์ ทางกลุ่มยังคงต้องการ คงความเป็นบรรจุภัณฑ์เดิมอยู่คือ ลูกค้าต้องสามารถมองเห็นเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ดี จึงจะทำให้จำหน่ายได้ดี หากมีกล่อง หีบห่อ ที่มิดชิดทำให้จำหน่ายได้ไม่คล่องตัว บรรจุภัณฑ์เดิมที่ทางกลุ่มมี มีลักษณะที่เก่า และสีสันโดดเด่น ไม่เป็นที่น่าสนใจ ทางกลุ่มต้องการบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สามารถส่งประกวดคัดสรรได้ แนวทางแก้ไข : - จัดโครงการอบรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการค้า ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013821925261.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=538] วันที่รายงาน [10/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรม ปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013410151161.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=632] วันที่รายงาน [10/6/2556] | |||
- หัวหน้าโครงการโดยอาจารย์รัฐพล ดุลยะลา ได้นำปัญหาจากผลการดำเนินงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ผ่านมา ซึ่งพบปัญหาด้านการพัฒนาเครื่องกระเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาดำเนินงานในไตรมาส 2 คือ การนำวิชาความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการพัฒนาเครื่องคัดแยกเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อเป็นการคัดคุณภาพของเม็ดมะม่วงที่มีอยู่ในท้องถิ่น และเพื่อให้ธุรกิจของชุมชน เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมให้มีการคัดสรรคุณภาพ ในระดับ 5 ดาว - จัดกิจกรรม ถ่ายทอดเทคโนโลยี โครงการส่งเสริมการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ให้แก่กลุ่มมะม่วงหิมพานต์ โดย รับความร่วมมือกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า ด้วยพื้นที่ตำบลหาดล้า เป็นพื้นที่ที่มีเนื้อที่ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนมีอาชีพการเกษตร ทำนา ทำสวนมะม่วงหิมพานต์เป็นหลัก การพัฒนาการเกษตรจึงเป็นการช่วยพัฒนาอาชีพของประชาชน ให้ประชาชนมีรายได้จาการประกอบอาชีพมากขึ้น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประกอบกับการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในภารกิจของ อบต.มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 รวมถึงแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 มาตรา 66 ที่ให้อำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมาตรา 68 (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์และ (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเกษตรกร จึงเห็นควรส่งเสริมเกษตรกรจัดอบรมทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อให้ประชากรได้มีอาชีพเสริมตลอดจนเกิดผลผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยมีวิทยากรมาถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ จึงทำให้เกิดการจัดทำโครงการอบรมการทำปุ๋ยหมักนี้ขึ้นโดยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นสำคัญ และเป็นการสร้างงานให้เกิดในชุมชน ให้ชุมชนมีรายได้และสามารถพึ่งพากันในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดนำความรู้ที่ได้รับไปเป็นอาชีพเพื่อให้มีรายได้เสริมต่อไป | ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - ไมมี แนวทางแก้ไข : - ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013821927351.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=633] วันที่รายงาน [13/6/2556] | |||
กิจกรรมโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตปู๋ยชีวภาพ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อใช้ประกอบการเพาะปลูกการพัฒนาการเกษตรเป็นการช่วยพัฒนาอาชีพของประชาชน ให้ประชาชนมีรายได้จาการประกอบอาชีพมากขึ้น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นหลักการในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ประกอบกับการส่งเสริมการเกษตร | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี แนวทางแก้ไข : ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=730] วันที่รายงาน [21/8/2556] | |||
-จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหมู่บ้านเครือข่าย ในกิจกรรม วันสถาปนามหาวิทยาลัย ร่วมกับคลีนิคเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ - จัดกิจกรรมนำเสนอผลงานการดำเนินงานหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยการนำแกนนำในชุมชน และผู้บริหารระดับสูงขององค์กร เข้าร่วมดูงานและลงนามในบันทึกความร่วมมือ MOU ร่วมกับมหาวิทยาลัย - สนับสนุนการจัดกิจกรรม ออกร้านค้า OTOP ของสมาชิก - จัดทำเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - ไม่มี แนวทางแก้ไข : - ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2557 | 250,000|250,000|250,000|ใช้หมด | 20144301531491.pdf | 2015291538541.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=991] วันที่รายงาน [9/7/2557] | |||
ในปีที่ 3 หัวหน้าโครงการโดยอาจารย์รัฐพล ดุลยะลา และทีมงานคณะทำงานหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้ดำเนินการ พัฒนาผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ในการลดขั้นตอนการทำงานของกลุ่ม และ สร้างกระบวนการทำงานใหม่ให้กับกลุ่มชุมชนวิสาหกิจเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ตำบลหาดล้า โดยการพัฒนาเครื่องคัดแยกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อใช้ในการคัดแยกขนาดเม็ดมะม่วงให้มีประสิทธิภาพมากกว่าการตัดแยกโดยใช้แรงงานคน ลดระยะเวลาในการคัดแยก มีประสิทธิภาพในการคัดแยกขนาดได้มากกว่าแรงงานคน ได้ดังนี้ | ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2014791952391.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1040] วันที่รายงาน [9/9/2557] | |||
- การอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีกระบวนการบริหารจัดการรูปแบบ ต่าง ๆ เพื่อสร้างแนวทางการบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มและสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในกลุ่ม - วิธีดำเนินโครงการ - จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการศึกษาเอกสาร /การบรรยาย /การอภิปราย /แบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหา / การฝึกปฏิบัติ - แบ่งกลุ่ม การทำงาน ตามหน้าที่ ความถนัดของแต่ละบุคคล ได้รับความพอใจมากกว่า การทำงาน ที่ไม่ได้รับความถนัด - การบรรยายการสร้าง ความสำคัญของการจัดองค์กร เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่และเต็มความสามารถ จึงได้จัดการแบ่งหน้าที่การทำงานของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ | ค่าใช้จ่าย : 40,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - ไม่มี แนวทางแก้ไข : - ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1041] วันที่รายงาน [9/9/2557] | |||
จัดอบรมให้ความรู้การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ กับวิสาหกิจแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อให้ตระหนักถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและมีคุณภาพ โดยการจัดอบรม ให้ความรุ้ด้านต่างๆ อาทิเช่น ความสำคัญของการผลิตที่มีการรับรองมาตรฐานการผลิต และ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ๑. ขอบข่าย ๑.๑ เอกสารนี้กำหนดนิยาม คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ การรับรอง การตรวจติดตามผล การยกเลิกการรับรอง และอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้องในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ๒. นิยาม ความหมายของคำที่ใช้ในเอกสารนี้ มีดังต่อไปนี้ ๒.๑ การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง การให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของผู้ผลิตในชุมชน ที่เกิด การรวมกลุ่มกันประกอบกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งทั้งที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการหรือที่ไม่มีการจดทะเบียนเป็นการ รวมกลุ่มเองโดยธรรมชาติ หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้ประกาศกำหนด ไว้แล้ว ๒.๒ ผู้ยื่นคำขอ หมายถึง ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชนและ/หรือจากโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะ กรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ๒.๓ ผู้ได้รับการรับรอง หมายถึง ผู้ยื่นคำขอที่ผ่านการตรวจประเมินแล้ว และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาล โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน โดย มุ่งให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มา พัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการ พัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ สร้างงาน สร้างรายได้ | ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : อุปกรณ์ / เครื่องมือ ของชุมชน ยังไม่มีความพร้อม อีกทั้ง กลุ่มสมาชิก ไม่สะดวกในการเดินทางมาปฏิบัติงานที่ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ยังคงมีความคิดที่ต้องการทำงานอยู่ที่บ้านของตนเองเป็นหลัก แนวทางแก้ไข : - จัดตารางเวณในการปฏิบัติ งาน โดยมี วันหยุด มีการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง - เล่าประสบการณ์ให้เห็นถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานที่ศูนย์เรียนรู้ ข้อดี ข้อเสีย ของการดำเนินงาน - จัดอบรม การจัดการองค์กร ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1042] วันที่รายงาน [9/9/2557] | |||
- จัดอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ - ได้แนวปฏิบัติในการผลิต เม็ดมะม่วงหิมพาต์ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกลุ่มวิสาหกิจ มะม่วงหิมพานต์ทอดสมุนไพร | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : -ไม่มี แนวทางแก้ไข : - ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1043] วันที่รายงาน [9/9/2557] | |||
จัดโครงการอบรม ถ่ายทอเทคโนโลยี การทำเม็ดมะม่วงหิมพานต์อบรสปาปริก้า ให้กับกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับกลุ่มและสมาชิก เนื่องจากเป็นความต้องการของกลุ่มที่ต้องการจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด | ค่าใช้จ่าย : 40,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย แนวทางแก้ไข : - จัดอบรมพัฒนาบรรจุภัณฑ์และหาแนวทางในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่ม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1044] วันที่รายงาน [9/9/2557] | |||
รายงานแบประเมิน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 201499145541.xls | ||
2558 | 314,920|260,000|260,000|ใช้หมด | 201510271649241.pdf | 20159231538301.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1194] วันที่รายงาน [27/3/2558] | |||
เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2558 ทีมคณะทำงานหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ นำทีมโดย อาจารย์รัฐพล ดุลยะลา หัวหน้าโครงการ และอาจารย์ผู้ร่วมดำเนินงานในสังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้แก่ อาจารย์สมเจตน์ บุญชื่น อาจารย์ปัจจะพล ไทยปิยะ หลักสูตรเทคโนโลยีไฟฟ้า ลงพื้นที่ ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อประสานกลุ่มผู้ประกอบการดำเนินงานโรงงานผลิตเม็ดขาวมะม่วงหิมพานต์ เนื่องจาก คุณจารุพัฒน์ เจ้าของกิจการประสานงานหัวหน้าโครงการ (อาจารย์รัฐพล) ขอความอนุเคราะห์ให้ช่วยเหลือในการวิจัยพัฒนาต่อยอดเครื่องแกะเม็ดมะม่วงให้มีประสิทธิภาพในการแกะกะเทาะ ปัญหาของคุณจารุพัฒน์คือ เครื่องจักรที่ใช้ในการแกะกะเทาะ ขาดประสิทธิภาพในการแกะเปลือก ทำให้เสียเวลาในการใช้แรงงานคนในการคัดแยกเปลือกออกจากเม็ดขาว อีกหนึ่งความช่วยเหลือที่ผู้ประกอบการต้องการคือ เครื่องคัดแยกเม็ดขาว ที่โครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอยู่คือ ต้องการให้นำเครื่องคัดแยกมาใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับสถานประกอบการของคุณจารุพัฒน์ เนื่องจากสนใจในการคัดแยกเม็ดขาว เพื่อขายให้ได้ราคาดีกว่าการคละไซต์ จากการนัดหมายประชุมในครั้งนี้ ได้ข้อสรุปในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มผู้ประกอบการในการจัดทำโครงการแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดโครงการแม่ข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในครั้งนี้ ตามตารางกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี | ค่าใช้จ่าย : 80,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - ปัญหาเกิดจากเครื่องจักรไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่ม - ปัญหาจากกระบวนการเตรียมเม็ดดิบตากแห้งไม่ได้ประสิทธิภาพ แนวทางแก้ไข : พัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการชุดแยกเม็ดขาวและเปลือกให้แยกออกจากกันเพื่อ ตอบสนองความต้องการผู้ใช้บริการ - ศึกษาวิจัยกระบวนการเตรียมเม็ดดิบหาความชื้นที่เหมาะสมในการแกะกะเทาะโดยเครื่องจักที่ผ่านการพัฒนาชุดคัดแยกเม็ดขาวและเปลือก - ศึกษาวิจัยกระบวนการเตรียมเม็ดดิบ ช่วงระยะเวลาการตากให้มีประสิทธิภาพเนื่องจากปัจจุบันกลุ่ม รับซื้อ เม็ดดิบจากสหกรณ์ ทำให้เม็ดที่ได้มีความชื้นสูง และเวลานำเข้ากระบวนการแกะทำให้ความชื้นของเปลือกมีความเหนียวซึ่งการนำมากะเทาะไม่ได้ประสิทธิภาพ ดังนั้นการที่จะทำให้การกะเทาะมีประสิทธิภาพได้จึงจำเป็นต้องมีกระบวนการศึกษาเตรียมเม็ดดิบให้ได้ประสิทธิภาพก่อนการกะเทาะ คณะฯ ผู้ดำเนินงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์จึงได้นำโจทย์มาวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ไขกระบวนการเตรียมเม็ดดิบ โดยแบ่งชุดทดลองออกเป็นช่วง ระยะเวลาในการตาก ทั้งหมด 10 ชุดทดลอง เพื่อทดสอบหาความเม็ดดิบที่มีประสิทธิภาพสามารถนำเข้าเครื่องกะเทาะ และผ่านการคัดแยกที่ได้ประสิทธิภาพตามความต้องการของกลุ่ม ไฟล์แนบกิจกรรม : 20153271111181.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1235] วันที่รายงาน [21/5/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : 60,000 จำนวนผู้รับบริการ : 50 ปัญหาอุปสรรค : กลุ่มแม่ข่าย ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย สำหรับการออกนิทรรศการ - กลุ่มลูกข่าย ตำบลจริมยังขาดแคลนนักวิจัยช่วยการพัฒนาเครื่องจักร - กลุ่มลูกข่ายต้องการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูป สร้างอาชีพ แนวทางแก้ไข : ส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัย เครื่องจักร โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนา - จัดโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี แปรรูป เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ปรุงรส ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1273] วันที่รายงาน [2/7/2558] | |||
เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2558 ได้จัดประชุม ติดต่อประสานงาน หน่วยงานภาครัฐและแกนนำผู้นำชุมชน ใน พื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย ลูกข่ายหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2 ลูกข่าย คือ กลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา และ เทศบาลตำบลจริม ซึ่งตั้งอยู่ใน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ มีความต้องการในการทำหมู่บ้านลูกข่ายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในความต้องการของชุมชนนั้นมีความเป็นอยู่ซึ่งใกล้เคียงกับหมู่บ้านแม่ข่าย คือมีอาชีพเกษตรกรรม และมี การปลูกมะม่วงหิมพานต์อยู่เป็นจำนวนมาก และใช้แรงงานในการแกะเม็ดขาวจำหน่าย จำหน่ายในราคา กิโลกรัมละ 280 บาท สำหรับผู้ที่รับจ้างแกะเม็ดขาว ได้ ค่าแรง เฉลี่ยวันละ 200 บาท ทำให้ความเป็นอยู่ของชุมชนนั้นยังมีความยากจน และยังต้องการการส่งเสริมอาชีพ จากการลงพื้นที่ประชุม ประสานงานพัฒนาชุมชนและผู้นำชุมชน นายก องค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา พบว่า ชุมชนส่วนหนึ่งต้องการให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ปรุงรส เพื่อสร้างแนวทางในการประกอบอาชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลจะช่วยในการสนับสนุน พื้นที่ดำเนินงานและจัดกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านลูกข่าย มีกลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน และผู้ต้องการอาชีพ รวมประมาณ 50 คนในการเข้ารับการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยี จากการลงพื้นที่ ดำเนินการประชุม ร่วมกับเทศบาลตำบลจริม ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน นักพัฒนาชุมชน สำนักงานปลัดเทศบาล พบว่ามี เทศบาลจริม มีความสนใจเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการขอให้จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปให้กับชุมชนเพื่อสร้างอาชีพ ในการนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 50 คน โดยเทศบาลตำบลให้การสนับสนุนพื้นที่ในการจัดโครงการและประสานงานกับชุมชนในการจัดหา ผู้ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับชุมชนเพื่อสร้างอาชีพและแนวทางในการจัดหารายได้ของกลุ่ม กำหนดการจัดโครงการอบรม เชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยี อบต.ท่าปลา วันที่ 17-19 กรกฏาคม 2558 และเทศบาลตำบลจริม วันที่ 24 -26 กรกฎาคม 2558 หมายเหตุ เนื่องจากสภาพพื้นที่ของหมู่บ้านลูกข่ายไม่เอื้ออำนวยต่อการขนย้าย ขนผู้เข้ารับการอบรม และวัสดุในการจัดโครงการ จึงมีความจำเป็นต้องจัดกลุ่มในการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็น 2 กลุ่ม โดยนำนักศึกษาและวิทยากร คณะผู้ดำเนินงานลงพื้นที่ในการจัดโครงการ ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้ารับการอบรม จึงมีความสะดวกมากกว่า | ค่าใช้จ่าย : 50,000 จำนวนผู้รับบริการ : 100 ปัญหาอุปสรรค : ยังต้องการ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการถนอม อาหาร มาใช้ในการจัดเก็บเม็ดมะม่วงหิมพานต์ปรุงรสเพื่อจำหน่าย แนวทางแก้ไข : จัดโครงการอบรมให้ความรู้ รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของตลาด ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1350] วันที่รายงาน [27/8/2558] | |||
เมื่อวันที่ 17 – 19 กรกฏาคม 2558 คณะทำงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ นำโดยอาจารย์รัฐพล ดุลยะลา อาจารย์ธนภูมิ เฟื่องเพียร อาจารย์ปัจจพล ไทยปิยะ อาจารย์สมเจนต์ บุญชื่น และคณะทำงานร่วมพร้อมด้วยนักศึกษา ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ เพื่อสร้างอาชีพ ส่งเสริมรายได้ให้ชุมชน ผลการดำเนินงาน โดยความร่วมมือ ของ เทศบาลตำบลจริม นายกราชัน มหาวัน นายกเทศบาลตำบล มีกลุ่มสมาชิกเทศบาล เข้าร่วม ทั้งสิ้น 50 คน ได้รับความรู้ จากเทคโนโลยีที่ได้ถ่ายทอดให้กับชุมชนไปสร้างเป็นอาชีพเสริม และเกิดความสามัคคีภายในชุมชน โดยมีแนวทางในการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีอยู่มากในชุมชน ให้เป็นอาชีพเสริมในครอบครัว วันที่ 24 – 26 กรกฎาคม 2558 ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่มากแต่ ส่วนใหญ่แล้วรับจ้างแกะเม็ดขายเพื่อจำหน่าย ไม่มีความรู้ในการแปรรูป เมื่อได้รับการ่ถายทอดเทคโนโลยี จาก คณะทำงานไปแล้ว จะได้นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสร้างอาชีพ วันที่ 15 สิงหาคม 2558 ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับกลุ่มเกษตรกรกะเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์บ้านกิ่วเคียน อำเภอท่าปลา ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีเม็ดมะม่วงหิมพานต์อยู่มากแต่ ส่วนใหญ่แล้วรับจ้างแกะเม็ดขายเพื่อจำหน่าย ไม่มีความรู้ในการแปรรูป เมื่อได้รับการ่ถายทอดเทคโนโลยี จาก คณะทำงานไปแล้ว จะได้นำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดสร้างอาชีพ และส่งขายให้กับโครงการภูฟ้า โครงการใน ความอนุเคราะห์ ของ สมเด็จพระเทพ ฯ | ค่าใช้จ่าย : 70,000 จำนวนผู้รับบริการ : 100 ปัญหาอุปสรรค : กลุ่มแม่ข่าย ต้องการบรรจุภัณฑ์ที่มีความทันสมัย สำหรับการออกนิทรรศการ - กลุ่มลูกข่าย ตำบลจริมยังขาดแคลนนักวิจัยช่วยการพัฒนาเครื่องจักร - กลุ่มลูกข่ายต้องการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีแปรรูป สร้างอาชีพ แนวทางแก้ไข : ส่งเสริมให้มีการพัฒนางานวิจัย เครื่องจักร โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนา ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อท้องถิ่น ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1383] วันที่รายงาน [21/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1384] วันที่รายงาน [21/9/2558] | |||
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 300,000|300,000|300,000|ใช้หมด | 2016524101311.pdf | 20177201354281.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1598] วันที่รายงาน [26/5/2559] | |||
จัดกลุ่มประชุมสมาชิกกลุ่มแปรรูปเม็ดม่วงหิมพานต์ ในประเด็นการบริหารจัดการของที่เป็นอยู่เดิม ปัญหาของกลุ่ม, การปรับตัวเข้าหากัน,รูปแบบการบริหารจัดการที่ดี ,การจัดสรรผลประโยชน์ ,หลักธรรมาภิบาลในการจัดการความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1599] วันที่รายงาน [26/5/2559] | |||
ความรู้เกี่ยวกับการตั้งราคาสินค้า การคำนวณต้นทุน การลดต้นทุน
การตั้งราคาสินค้า
ค่าวัตถุดิบ + ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายในการผลิต
| ค่าใช้จ่าย : 45,000 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=1600] วันที่รายงาน [1/6/2559] | |||
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและตลาดปัจจุบันเพื่อโดยนำเอาความทันสมัยของ รสชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่นำมาถ่ายทอดกระบวนการสร้างความแปลกใหม่ให้กับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการแปรรูป คือไม่ยุ่งยาก ต้นทุนต่ำ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค -ในส่วนของบรรจุภัณฑ์นั้น ได้นำเอาบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายและทันสมัย สะดวก กะทัดรัดมาถ่ายทอดให้กกลุ่มในการนำกระบวนการที่ถ่ายทอดนั้นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเอง ผลที่ได้ คือ ความคาดหวังของยอดขายที่จะมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีราคาจำหน่ายที่สูงขี้น ดังนั้นการที่กลุ่มอับเกรดบรรจุภัณฑ์จะทำให้มะม่วงหิมพานต์ปรุงรส เพิ่มมูลค่า จากเดิม ข้อมูลเพิ่มเติม /online/filemanager/fileclinic/B7/files/รูปถ่ายทอดการแปรรูป-บ้านกิ้วเคียน(1).pdf | ค่าใช้จ่าย : 68,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : แหล่งที่มาของบรรจุภัณฑ์นั้นหายากในจังหวัด และตราหรือโลโก้ที่จะนำมาใช้ยังมีความหลากหลาย แต่ยังคงใช้ชื่อ ของดีท่าปลา บนฉลากบรรจุภัณฑ์ แนวทางแก้ไข : - คณะทำงานได้เป็นผู้รับหน้าที่ในการหาข้อมูลแหล่งจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่ม โดยการประสานงานกับผู้จำหน่ายและติดต่อประสานงานให้ ระหว่างกลุ่มสมาชิกกับผู้จำหน่าย - ให้แต่ละครัวเรือน ออกแบบฉลากสินค้าของแต่ละครัวเรือนเอง และให้มีข้อความ ของดีท่าปลา บนฉลากเพื่อสร้างแบร์ดให้กับชุมชน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=1621] วันที่รายงาน [6/6/2559] | |||
คณะผู้ดำเนินงานได้นำองค์ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยการนำเนื้อหาองค์ความรู้ SMEs ภายใต้งานพัฒนาศูนย์ข้อมูลมาเป็นเนื้อหาในการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยคณะทำงานหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อาจารย์รัฐพล ดุลยะลา และคณะฯ เนื้อหาการนำเสนอ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อต่อสู้แข่งขันกับตลาดปัจจุบันให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคอยู่เสมอและเพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีมาตรฐานจึงได้นำสมาชิกกลุ่มลูกข่าย หมู่บ้านกิ่วเคียนอบรมเชิงปฏิบัติการ ร่วมกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสารธาณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้ไปพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อขอรับเครื่องหมาย อย.บนฉลากบรรจุภัณฑ์ | ค่าใช้จ่าย : 35,000 จำนวนผู้รับบริการ : 25 ปัญหาอุปสรรค : -บรรจุภัณฑ์เดิมของกลุ่ม ขาดเนื้อหาสาระสำคัญบนฉลาก ต้องเปลี่ยนรูปแบบฉลากใหม่ แนวทางแก้ไข : -อบรมให้ความรู้เพิ่ม และ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน หาแนวทางร่วมกับกลุ่ม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=1901] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
เมื่อวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2559 คณะเทคทำงาน โครงการหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ได้จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่องานจักสานให้กับชุมชน โดยได้รับความร่วมมือกับ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า เพื่อเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษา ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ความรู้ เพื่อใช้ชุมชนได้นำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมขนเอง และเพื่อสร้างอาชีพให้ตนเองและคนในครอบครัว โดยถ่ายทอดให้กับ กลุ่มแม่บ้าน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในชุมชน ในการนี้ กลุ่มแม่บ้านเป็นผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีอายุ ระหว่าง 45-90 ปี มีความสามารุถในการจักสาน เข่ง ตะกร้า บ้างบางส่วน ได้เอานำความรู้ที่ตนมีอยู่มาสอนเพื่อสมาชิกด้วยกัน ใช้เวลาว่างที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และเกิดความสามัคคีในองค์กร โดยเอาเครื่องจักสานมาเป็นสื่อในการทำงานร่วมกันในชุมชน ทางกลุ่มต้องการให้คณะทำงานหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ นำเอาเครื่องจักตอกของ อาจารย์รัฐพล ดุลยะลา นำมาใช้ในการจักเส้นตอก แทนการใช้แรงงานคน เป็นการลดขั้นตอน และระยะเวลาในการเตรียมเส้นตอกสำหรับงานจักสาน โดยเครื่องจักตอกที่นำมาใช้ ลดระยะเวลาในการทำงานได้มาก
| ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=1902] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
แก้ไข เพิ่มเติม รายงานความก้าวหน้า กิจกรรมที่ 4 โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่องานจักสาน | ค่าใช้จ่าย : 64,000 จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 7 [IG=1903] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
เมื่อวันที่ วันที่ 22 -24 มิถุนายน 2559 คณะทำงานได้ลงพื้นที่ทำงานบ้านกิ่วเคียนเพื่อประ่ชุม จัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีความทันสมัย และตอบสนองความต้องการของตลาด เนื่องมาจาก วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรกระเทาะเม็ดมะม่วงหิมพานต์ บ้านกิ่วเคียน ต้องการให้คณะทำงาน ช่วยดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้ได้มาตรฐาน อย โดยการพัฒนาการผลิตและโรงเรือน ให้ครบกระบวนการ ตลอดจนพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความทันสมัย เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของกลุ่มส่งออกขาย ให้ได้รับมาตรฐานการผลิต ดังนั้นทางกลุ่มจึงได้จัดประชุมให้ความรู้ ในเรื่องกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน และครบวงจร การผลิต เรื่มต้นทางการให้(1) ความรุ้เรื่องของมาตรฐานการผลิต (2) ระเบียบ ขั้นตอน การขอเครื่องหมาย อย (3) การบริหารจัดการกลุ่มด้วยโดยใช้หลักธรรมภิบาลในการบริหารจัดการ (4) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานและส่งเสริมการขาย | ค่าใช้จ่าย : 53,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 8 [IG=1904] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2559 คณะทำงานได้ส่งเสริมการสร้างอาชีพ โดยจัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปรุงรส โดยได้รับความต้องการจากสมาชิกลูกข่าย บ้านกิ่วเคียนให้นำเทคโนโลยีการแปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์รสนมเนย สำหรับใช้ขายกลุ่มเด็ก เนื่องจาก รสชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ ไม่มีรสชาติสำหรับเด็ก ทางกลุ่ม รับทราบข้อเสนอแนะมาจากลูกค้า จึงต้องการให้คณะทำงาน ช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังกล่าว | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 9 [IG=1905] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
1 สิงหาคม 2559 ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ นำผลงานการถ่ายทอดเทคโนโลยี หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำเสนอแสดงนิทรรศการในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธุ์การทำงานของคณะทำงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณให้การทำงานจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการทำำงานร่วมกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่นในการพัฒนาชุมชนระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 10 [IG=1906] วันที่รายงาน [9/9/2559] | |||
คณะทำงานหมู่บ้านเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ได้ร่วมมือกับชุมชน เทศบาลตำบลจริม องค์การบริหารส่วนตำบลหาดล้า เทศบาลท่าปลา ในการส่งเสริมอาชีพ พัฒนาชุมชน โดยการนำเอาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่มีอยู่ในชุมชน ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยกระบวนการแปรรูป ให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานการผลิต ตลอดจน พัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์เด่นประจำอำเภอได้ คณะทำงานได้ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ นำนักศึกษาปริญญาโท การบริหารองค์กร ศึกษาดูงานกระบวนการทำงานและการแปรรูป นำเสนอผลงานการทำงานของกลุ่ม และได้รับข้อเสนอแนะในการทำงานและการวางแผนการตลาดให้กับสมาชิกและกลุ่ม | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates