หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยพะเยา
สถานะหมู่บ้าน : แม่ข่ายต้นแบบ
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2555 | 285,000|210,000|210,000|ใช้หมด | 201243165961.pdf | 2013630927401.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=209] วันที่รายงาน [3/4/2555] | |||
1. ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขข้อเสนอโครงการตามคำแนะนำของคณะกรรมการ และได้จัดส่งข้อเสนอโครงการที่แก้ไขแล้วพร้อมทั้งแบบยืนยันเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการวางแผนการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ 2. ลงพื้นที่เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานกับกลุ่ม | ค่าใช้จ่าย : 45,000 จำนวนผู้รับบริการ : 60 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=386] วันที่รายงาน [26/9/2555] | |||
1. เข้าไปสำรวจข้อมูลและซักถามปัญหาต่างๆเพิ่มเติม พร้อมทั้งนัดหมายเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านทุ่งมอก ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา พบว่าทางกลุ่มมีความต้องการให้มีการถ่ายทอดการย้อมสีธรรมชาติด้วยพืชท้องถิ่นที่หาได้ง่ายในชุมชนและการออกแบบลายผ้าทอใหม่ๆให้กับทางกลุ่ม 2. ได้ทำการคัดเลือกพืชและคัดเลือกเฉดสีตามความต้องการของทางกลุ่มทอผ้า จากงานวิจัยการย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติทั้งจากงานวิจัยของตัวเองและงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง และได้นำสภาวะที่เหมาะสมที่สุดของพืชแต่ละชนิดในการให้สีมาทดลองย้อมในห้องปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อเป็นการตรวจสอบเฉดสีตามที่ต้องการ เพราะบางครั้งพืชชนิดเดียวกันแต่เจริญเติบโตในสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันองค์ประกอบทางเคมีที่ให้สีอาจแตกต่างกัน ทำให้เฉดสีเปลี่ยนแปลงไปได้ อบรม ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การคัดเลือกและทําความสะอาดด้ายฝายอย่างถูกวิธี วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 กิจกรรมที่ 2 การถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติ วันอังคาร ที่ 5 กุมภาพันธ 2556 จากผลการติดตามการนําความร้ไปใช้ประโยชน์หลังการอบรมโครงการฯ แล้วพบว่า ผ้ที่เข้ารับการอบรม สามารถนําความร้ทีได้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์และลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการการย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติรวมถึงการทอผ้าได้ มีการนําความร้จากกระบวนการย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติไปประยุกต์ใช้กับการย้อมด้ายฝ้ายด้วย วัตถุดิบอื่นๆในท้องถิ่น ทําให้เกิดสีสันที่หลากหลายมากขึ้นและมีความคงทนต่อแสงและต่อการซัก รวมท้งสมาชิกบางคนของทางกลุ่มสามารถถ่ายทอดความร้ทีมีเกี่ยวกับการย้อมสีด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติให้แก่กล่มอืนๆได้ เป็นการต่อยอดความร้และสามารถสืบทอดศิลปวัฒนธรรมที่ดีของท้องถิ่นได้ ในด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทําความสะอาดด้ายฝ้าย และกระบวนการย้อมสีด้าย ฝ้ายมีการลดการใช้สารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพของผ้ผลิตและผู้บริโภคและยังเป็นการลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง นอกจากน้นได้ยังได้หาตลาดเพื่อวางจําหน่าย โดยมีพ่อค่าและผ้ค้าปลีกมารับซื้อกับกล่มทอผ้า โดยผ้ซื้อได้ให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์ของทางกล่มเป็นอย่างดี เนื่องจากมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นของสินค้า เป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกล่มุได้เป็นอย่างดี นอกจากน้นยังได้มีการออมเงินที่เกิดจากรายได้จากการขายผ้าของกล่มสมาชิกเพือใช้ในการดําเนินกิจกรรมของกล่มต่อไป ข้อมูล ใบสมัคร แบบประเมิน และแบบติดตามปรากฏในรายงานฉบับสมบูรณ์ | ค่าใช้จ่าย : 165,000 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากปัญหาของสภาพอากาศที่เป็นฤดูฝนและเป็นฤดูกาลทำนา ทำให้สมาชิกในโครงการไม่สะดวกที่จะเข้าอบรมและจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโครงการได้ อีกทั้งการส่งตัวอย่างผ้าหลังการย้อมสีธรรมชาติเพื่อตรวจสอบต้องใช้ระยะเวลานานในการรอผลการวิเคราะห์ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และมีประสิทธิภาพ จึงได้ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว และจะทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน แนวทางแก้ไข : ปรับแนวทางการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2556 | 223,300|223,300|223,300|ใช้หมด | 20131281411541.pdf | 2014331831331.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=568] วันที่รายงาน [18/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013418133911.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=689] วันที่รายงาน [5/7/2556] | |||
ได้เข้าไปพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มทอผ้าเรื่องการเตรียมพื้นที่ในการปลูกด้ายฝ้ายสีเขียวและสีน้ำตาลเพื่อเป็นแปลงสาธิตของทางกลุ่ม และได้พาวิทยากรเข้าไปพูดคุยและซักถามถึงปัญหาเพิ่มเติมในเรื่องการออกแบบลายผ้าทอเพื่อจัดอบรมให้ตรงกับความต้องการของทางกลุ่มทอผ้ามากที่สุด | ค่าใช้จ่าย : 10,870 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=790] วันที่รายงาน [2/10/2556] | |||
การส่งเสริมการปลูกฝ้ายสีธรรมชาติร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ 1 การทดสอบปลูกฝ้ายสีธรรมชาติในแปลงทดสอบ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ทำการลองโดยออกแบบการทดลองแบบสุ่มเป็นบล็อก โดยมีสิ่งที่ต้องทดสอบทั้งสิ้น 3 ตัวแปร ดังนี้ ก ชนิดของฝ้ายสีธรรมชาติ 3 ชนิด คือ สีขาว สีน้ำตาล และสีเขียว ข ชนิดของดินที่ใช้ปลูก 2 ชนิด คือ ดินปลูก และ ดินภูเขา (เพื่อเลียนแบบสภาพดินในพื้นที่จริง) ค ชนิดของปุ๋ย ชนิด 2 คือ ปุ๋ยเคมี และน้ำหมักชีวภาพ ดังนั้นจึงจัดการทดลองได้ทั้งหมด 3 x 2 x 2 = 12 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 10 ซ้ำ ดังนี้ (ภาพที่ 1) 1 ฝ้ายสีขาวในดินปลูก และให้ปุ๋ยเคมี 2 ฝ้ายสีน้ำตาลในดินปลูก และให้ปุ๋ยเคมี 3 ฝ้ายสีเขียวในดินปลูก และให้ปุ๋ยเคมี 4 ฝ้ายสีขาวในดินภูเขา และให้ปุ๋ยเคมี 5 ฝ้ายสีน้ำตาลในดินภูเขา และให้ปุ๋ยเคมี 6 ฝ้ายสีเขียวในดินภูเขา และให้ปุ๋ยเคมี 7 ฝ้ายสีขาวในดินปลูก และให้น้ำหมักชีวภาพ 8 ฝ้ายสีน้ำตาลในดินปลูก และให้หมักชีวภาพ 9 ฝ้ายสีเขียวในดินปลูก และให้หมักชีวภาพ 10 ฝ้ายสีขาวในดินภูเขา และให้หมักชีวภาพ 11 ฝ้ายสีน้ำตาลในดินภูเขา และให้หมักชีวภาพ 12 ฝ้ายสีเขียวในดินภูเขา และให้หมักชีวภาพ รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20131021743201.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=791] วันที่รายงาน [2/10/2556] | |||
ได้นำสภาวะที่เหมาะสมในการปลูกด้ายฝ้ายสีธรรมชาติคือ สีน้ำตาล และสีเขียว ซึ่งได้ทดลองปลูกในแปลงทดสอบ ณ มหาวิทยาลัยพะเยา มาทำการปลูกในแปลงปลูก ซึ่งเป็นแปลงปลูกสาธิต ณ บ้านนางจินดา ใจกล้า สมาชิกของกลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านทุ่งมอก และได้กระจายเมล็ดพันธุ์ของฝ้ายสีธรรมชาติทั้งสองสีให้แก่สมาชิกของกลุ่ม เพื่อนำไปทดลองปลูกในพื้นที่ของตัวเอง | ค่าใช้จ่าย : 65,610 จำนวนผู้รับบริการ : 3 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในปีนี้มีมาก ฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้ด้ายฝ้ายที่ปลูกไปเกิดรากเน่า ได้รับความเสียหาย มีเพียงสมาชิกบางท่านที่ปลูกในที่ดอนเท่านั้นที่ได้ผล แนวทางแก้ไข : จะทำการปลูกในแปลงสาธิตรอบที่สาม ภายในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อให้ได้แปลงสาธิตสำหรับการศึกษาดูงานจากผู้ที่สนใจและเพื่อการวิจัยในพื้นที่จริง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=838] วันที่รายงาน [8/10/2556] | |||
แผนการดำเินินงานช่วงขยายเวลาปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20131081136191.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 6 [IG=876] วันที่รายงาน [18/3/2557] | |||
1. วันที่ 27 28 พฤศจิกายน 2556 ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการถ่ายทอดการออกแบบลายผ้าทอ(กิจกรรมที่1) ให้กับสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านทุ่งมอกโดยวิทยากรคือคุณจารุพันธ์ ลำพึงกิจ ซึ่งเป็นวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบลายผ้าทอด้วยเทคนิคต่างๆในพื้นถิ่นภาคเหนือครอบคลุมทั้งผ้ายก ผ้าจก ผ้าขิด และผ้ายกดอก ทำให้ทางกลุ่มสามารถใช้เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดนี้ออกแบบลายผ้าทอลายใหม่ๆได้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผ้าผืนมีสีสันและลวดลายที่มีความหลากหลายขึ้น โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 47 คน และสามารถผลิตผ้าทอลายใหม่ได้ 2 ลวดลาย ซึ่งหนึ่งในสองลวดลายใหม่ที่ได้เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคในการมัดย้อมสีย้อมจากห้อม และได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดการปลูกด้ายฝ้ายสีธรรมชาติ (สีน้ำตาล และสีเขียว) ร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ(กิจกรรมที่ 2) เพื่อลดต้นทุนในการผลิต เป็นการส่งเสริมให้ทางกลุ่มสามารถพึ่งพาต้นเองได้ ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ 45 คน 2. วันที่ 17 18 มกราคม 2557 ได้พาสมาชิกของกลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านทุ่งมอก ศึกษาดูงาน ณ กลุ่มผ้าฝ้ายดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดการ และการบริหารกลุ่มเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป เนื่องจากกลุ่มทอผ้าฝ้ายดอนหลวงเป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จทางด้านการบริหารจัดการ และมีการประชาสัมพันธ์ที่ดี ปัจจุบันทางกลุ่มได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้และโฮมสเตย์ในชุมชน | ค่าใช้จ่าย : 146,820 จำนวนผู้รับบริการ : 92 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2557 | 250,000|250,000|83,025|166,975 | 20149261559531.pdf | 20152101539271.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=893] วันที่รายงาน [11/5/2557] | |||
ได้แก้ไขข้อเสนอโครงการ(proposal) ตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากคณะกรรมการฯ และยืนยันการขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการฯ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1071] วันที่รายงาน [24/9/2557] | |||
ได้จัดโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยในวันที่ 26-27 กรกฎาคม 2557 ณ กลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านทุ่งมอก ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบลายผ้าทอและออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยจากกลุ่มของ อ.เผ่าภิญโญ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีสมาชิกของกลุ่มตัดเย็บบ้านทุ่งมอกและผู้สนใจ ให้ความสนใจและเข้าร่วมอบรมตลอดการอบรมทั้งสองวัน ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกระเป๋าหลากหลายรูปแบบที่ได้จากการประยุกต์ใช้ผ้าที่ทอได้จากกลุ่ม และในวันที่ 5-7 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้พาสมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านทุ่งมอก เข้าร่วมประชุมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ประจำปี 2557 ณ โรงแรมริชมอนด์ นนทบุรี | ค่าใช้จ่าย : 83,025 จำนวนผู้รับบริการ : 69 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากปัญหาของสภาพอากาศที่เป็นฤดูฝนและเป็นฤดูกาลทำนา ทำให้เกษตรกรไม่สะดวกที่จะเข้ารับการอบรม แนวทางแก้ไข : เลื่อนการจัดโครงการและการออกพื้นที่ให้ตรงกับเวลาว่างของสมาชิก ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2558 | 264,000|360,000|89,594|270,406 | 20155201143141.pdf | 201612991091.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1277] วันที่รายงาน [3/7/2558] | |||
ได้จัดกิจกรรมการปลูกด้ายฝ้ายสีธรรมชาติ(สีตุ่น) และกิจกรรมการทำความสะอาดด้ายฝ้ายพร้อมทั้งกิจกรรมการย้อมด้ายฝ้ายด้วยสีธรรมชาติ ให้แก่สมาชิกกลู่มทอผ้าลูกข่าย 2 กลุ่มคือ กลุ่มทอผ้าบ้านฮวก และกลุ่มทอผ้าบ้านธาตุภูซาง ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 มิถุนายน 2558 โดยมีวิทยากรจากกลุ่มทอผ้าแม่ข่าย คือกลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านทุ่งมอก จำนวน 2 ท่าน คือ นางยนตร์ ใจกล้า และ นางแสงนิล พวงมะลิ เป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี | ค่าใช้จ่าย : 64,000 จำนวนผู้รับบริการ : 42 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากวันที่ถ่ายทอดเทคโลโนยี ตรงกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวถั่งลิสง ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมทีจำนวนน้อย แนวทางแก้ไข : ควรทำการสำรวจก่อนจัดกิจกรรมทุกครั้ง ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=1425] วันที่รายงาน [30/9/2558] | |||
เนื่องจากปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฝนไม่ตกในพื้นที่ที่ปลูกฝ้าย ช่วงเดือน มิถุนายน และกรกฎาคม ทำให้ฝ้ายที่ปลูกไว้มีอัตราการงอกที่ต่ำ จึงได้นำวิทยากรแม่ข่าย คือ นางแสงนิล พวงมะลิ พร้อมทั้งนิสิต และบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมปลูกฝ้าย และปลูกทดแทนเมล็ดที่ไม่งอก ในพื้นที่บ้านฮวก และบ้านธาตุภูซาง ต.ภูซาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา | ค่าใช้จ่าย : 25,594 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฝนไม่ตกในพื้นที่ที่ปลูกฝ้าย ช่วงเดือน มิถุนายน และกรกฎาคม ทำให้ฝ้ายที่ปลูกไว้มีอัตราการงอกที่ต่ำ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2559 | 360,000|300,000||300,000 | 2016323163471.pdf | 2017811353401.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=1585] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
อยู่ระหว่างการขออนุมัติดำเนินโครงการ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=2108] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
เนื่องด้วย ปัญหาของสภาพอากาศที่เป็นฤดูฝนและเป็นฤดูกาลทำนา ทำให้เกษตรกรในโครงการไม่สะดวกที่จะเข้าอบรมและจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้ ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามกำหนดระยะเวลาที่ตั้งไว้ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : สภาพภูมิอากาศที่เป็นเปลี่ยนแปลง และช่วงเวลาในการจัดกิจกรรมไม่เหมาะสม แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=2109] วันที่รายงาน [30/9/2559] | |||
ได้จัดกิจกรรมการอบรมการปลูกด้ายฝ้ายสีธรรมชาติ(สีน้ำตาล สีเขียว) ให้แก่หมู่บ้านลูกข่ายทั้งสามหมู่บ้าน โดยได้รับความอนุเคราะห์เมล็ดพันธุ์ฝ้ายจาก ดร.ประพนธ์ บุญรำพรรณ นักปรับปรุงพันธุ์ฝ้าย ศูนย์วิจัยข้าวโดพดและข้าวฟางแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 40 ปัญหาอุปสรรค : เนื่องจากปีนี้ปริมาณนำ้ฝนมากกว่าปีที่แล้วทำให้เมล็ดด้ายฝ้ายที่ปลูกไว้เน่าเสีย อัตราการงอกจึงต่ำ จึงต้องมีการปลูกซ้ำในส่วนที่เสียหาย แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates