หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2554 | 236,500|187,000||187,000 | 20132121442381.pdf | 2014227912201.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
2555 | 396,000|220,000|220,000|ใช้หมด | 2012515954251.pdf | 2012111076361.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=298] วันที่รายงาน [5/7/2555] | |||
การให้ความรู้กับเยาวชนเกี่ยวกันของเสียย่อยสลายได้ พร้อมยกตัวอย่าง การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำระบบแก๊สชีวภาพ จากของเสียในครัวเรือน ซึ่งนักเรียนบางส่วนรู้จักระบบแก๊สชีวภาพบ้างแล้ว เนื่องจากบนพื้นที่เกาะหมากน้อยได้จัดทำในครัวเรือนบ้างแล้ว สาธิตการเชื่อมพลาสติกของถังหมักและถังเก็บแก๊ส | ค่าใช้จ่าย : 40,100 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : เกี่ยวกับมรสุม ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล ซึ่งพื้นที่เป็นเกาะ จึงต้องเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทาง แนวทางแก้ไข : อาจจะมีการวางแผนการทำงานตามภาวะของภูมิอากาศ ไฟล์แนบกิจกรรม : 20127590421.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=405] วันที่รายงาน [30/9/2555] | |||
1.สร้างกระบวนการให้ครัวเรือนในชุมชนเกิดความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียจากการทำยางแผ่นและของเสียอินทรีย์ ด้วยระบบหมักก๊าซชีวภาพ โดยได้เข้าอบรมให้ความรู้กับชาวบ้าน ที่มัชยิสและการเดินเข้าบ้านแต่ละครัวเรือนเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สำรวจข้อมูลของเสียอินทรีย์ในครัวเรือน และนำเสนอข้อดี ข้อต้องระวังในการจัดการของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยระบบก๊าซชีวภาพ 2. การจัดทำและเดินระบบก๊าซชีวภาพเพื่อจัดการน้ำเสียและของเสียอินทรีย์ในชุมชน รวมทั้งการดูแลระบบที่จัดทำขึ้น ชักชวนให้ครัวเรือนอื่นๆ ที่มีความสนใจในการจัดการของเสียอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยระบบก๊าซชีวภาพ ได้ไปดูครัวเรือนนำร่องที่มีระบบดังกล่าวแล้ว พร้อมทั้งจัดอบรมฝึกการปฏิบัติการจัดทำถังหมักก๊าซชีวภาพ 3.สร้างกลุ่มเสวนาภาษาพลังงานก๊าซชีวภาพ แลกเปลี่ยนในชุมชน เปลี่ยนของเสียเป็นพลังงานก๊าซหุงต้ม สร้างกลุ่มย่อยในการพูดคุยข้อดี ข้อเสีย จากการได้ฝึกปฏิบัติ หรือบางครัวเรือนที่ได้มีการใช้ระบบดังกล่าวแล้ว เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และได้มีการจัดการความรู้ที่เกิดจากการจัดทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพในการจัดการของเสียอินทรีย์และน้ำเสียจากการทำยางแผ่นในครัวเรือน 4. สร้างทีม เยาวชนรักษ์ก๊าซชีวภาพ ในการสร้างฐานเรียนรู้ในชุมชน เยาวชนที่ได้รับความรู้ เริ่มมีส่วนในการประชาสัมพันธ์บอกเล่าให้คนในครอบครัว และมีบางส่วนที่เข้ามาร่วมฝึกปฏิบัติการ 5. เพิ่มศักยภาพช่างชุมชน และวิทยากรชุมชนเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนและผู้สนใจ จากการได้เปิดกลุ่มย่อยพูดคุย การจัดทำและใช้ระบบก๊าซชีวภาพในครัวเรือน ชุมชนได้พบปัญหาและข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน และบางคนสามารถนำประสบการณ์มาสั่งสม พร้อมกับการฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม จนสามารถช่วยดูแลและสร้างชุดหมักก๊าซชีวภาพให้เพื่อนบ้านได้ 6.ประสานความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเฟ้นหาผู้นำธรรมชาติ คอพลังงานทางเลือก ในการจัดทำระบบก๊าซชีวภาพในชุมชน ได้สร้างความเข้าใจและหารือชี้ให้เห็นข้อดีกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พลังงานจังหวัดพังงา และบริษัทไทยออยล์ มหาชน จำกัด และมีการร่วมสมทบทุนในการจัดทำถังหมักก๊าซชีวภาพในครัวเรือนสำหรับบ้านนำร่อง รวมทั้งได้เกิดผู้นำธรรมชาติผนวกกับการเป็นช่างชุมชนเกิดขึ้น 7.เผยแพร่ความรู้และเทคโนโลยีการจัดทำบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียยางแผ่นและของเสียอินทรีย์ จัดทำแผ่นพับร่วมกับการกลั่นกรองข้อมูลต่างๆ จากชุมชน เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจ 1. จำนวนครัวเรือนที่ได้จัดทำระบบก๊าซชีวภาพในการหุงต้ม 30 ครัวเรือน 2.จำนวนเยาวชนเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ก๊าซชีวภาพ 63 คน 3. จำนวนคนที่สนใจเข้าร่วมอบรม ฝึกปฏิบัติ จนจัดทำระบบในครัวเรือน สามารถเป็นผู้ดูแลระบบ เป็นช่างชุมชน เป็นผู้บอกต่อคนอื่นๆ (วิทยากรชุมชน) และมีชุมชนอืนๆ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ เข้าเยี่ยมชม เรียนรู้เทคโนโลยี 80 คน | ค่าใช้จ่าย : 179,900 จำนวนผู้รับบริการ : 80 ปัญหาอุปสรรค : เกี่ยวกับมรสุม ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล และรุนแรงมาก ซึ่งพื้นที่เป็นเกาะ จึงต้องเปลี่ยนแปลงแผนการเดินทางตลอดระยะเวลา การทำประมง ไม่ค่อยมีเวลาที่แน่นอน ทำให้การนัดหมายได้ไม่ค่อยชัดเจน ระยะทางไกล และต้องเดินทางโดยเรือ ซึ่งไม่มีเรือโดยสาร จึงต้องอาศัยชาวประมง แนวทางแก้ไข : อาจจะมีการวางแผนการทำงานตามภาวะของภูมิอากาศ และไม่เป็นไปตามระยะเวลามากนัก ใช้แผนการให้ความรู้ แบบเดินเข้าหาถึงครัวเรือน โดยใช้ทีมงานจำนวนมากขึ้น ไฟล์แนบกิจกรรม : 20129301710131.pdf | ||
2556 | 270,160|220,000|199,700|20,300 | 20131301244181.pdf | 2014227757381.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=608] วันที่รายงาน [19/4/2556] | |||
1. เผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยจัดประชุมชาวบ้านในเกาะหมากน้อยเพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการผลิตก๊าซชีวภาพและการนำปุ๋ยหมักจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพไปใช้ในการเพาะปลูกมากยิ่งขึ้น โดยจัดประชุม ณ มัสยิดเกาะหมากน้อย ในวันที่ 8 เดือนธันวาคม 2555 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 54 คน ชาวบ้านที่ได้เข้าร่วมโครงการในปีที่ 1 และ 2 และได้จัดทำระบบก๊าซชีวภาพและมีการใช้งานแล้ว ได้ร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้แก่ชาวบ้านที่สนใจ 2. ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ระบบก๊าซชีวภาพในชุมชน โดยจัดอบรมและฝึกปฏิบัติวิธีการจัดทำ ใช้งาน และดูแลรักษาระบบผลิตก๊าซชีวภาพให้แก่ชาวบ้านเกาะหมากน้อยในวันที่ 12 มกราคม 2556 จำนวน 30 คน พร้อมทั้งร่วมกับชาวบ้านในการจัดทำถังหมักก๊าซชีวภาพเพื่อติดตั้งในครัวเรือน 3. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่เยาวชนในเกาะหมากน้อย ในรูปแบบของเกมส์สอดแทรกความรู้ เรื่องก๊าซชีวภาพและการนำน้ำหมักจากระบบไปในการปลูกผัก โดยจัดกิจกรรม ณ มัสยิดเกาะหมากน้อย ในวันที่ 13 มกราคม 2556 มีเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 25 คน ทำให้เยาวชนเห็นประโยชน์ของขยะอินทรีย์ และมีส่วนร่วมในการคัดแยกและป้อนขยะเศษอาหารลงถังหมักฯ 4. การจัดอบรมความรู้ทางวิชาการให้แก่วิทยากรชุมชนและเพิ่มศักยภาพด้านวิชาการให้แก่ช่างชุมชนจำนวน 30 คน ณ บ้านผู้ประสานงานโครงการ เกาะหมากน้อย โดยผู้เข้ารับการอบรม คือชาวบ้านเกาะหมากน้อยที่ยินดีใช้ระบบก๊าซชีวภาพในครัวเรือนของตัวเองเป็นจุดเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านคนอื่น ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้พัฒนาความสามารถในการพูด การถ่ายทอดมากขึ้น | ค่าใช้จ่าย : 174,700 จำนวนผู้รับบริการ : 139 ปัญหาอุปสรรค : แนวทางแก้ไข : ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=609] วันที่รายงาน [19/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรมปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20134191356431.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=659] วันที่รายงาน [2/7/2556] | |||
ส่งเสริมการประยุกต์ใช้ระบบก๊าซชีวภาพในชุมชน โดยลงพื้นที่เกาะหมากน้อยในวันที่ 20 เมษายน 18 พฤษภาคม และ 15 มิถุนายน 2556 เพื่อแนะนำการใช้งานและการแก้ปัญหาระบบก๊าซชีวภาพ และการนำน้ำหมักจากระบบไปใช้เป็นปุ๋ยในการเพาะปลูก ให้แก่ครัวเรือนที่จัดทำระบบก๊าซชีวภาพในครัวเรือน ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่สามารถใช้งานระบบก๊าซชีวภาพได้ดี มีเพียงไม่กี่ครัวเรือนที่พบปัญหาการรั่วซึม และเกิดภาวะเป็นกรดในถังหมัก เนื่องจากเติมเศษอาหารมากเกินไป ซึ่งได้ให้คำแนะนำชาวบ้านในการแก้ไขปัญหา | ค่าใช้จ่าย : 25,000 จำนวนผู้รับบริการ : 30 ปัญหาอุปสรรค : ชาวบ้านเกาะหมากน้อยเป็นชาวมุสลิม บางคนอ่านภาษาไทยไม่ได้ จึงเกิดความไม่เข้าใจในการใช้คู่มือระบบก๊าซชีวภาพที่ทางโครงการมอบให้ แนวทางแก้ไข : ต้องโทรศัพท์เพื่อติดตามผล สอบถามปัญหา และให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates