หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2554 | 477,750|165,000||165,000 | 201325112951.pdf | 2014361153561.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
2555 | 265,000|150,000||150,000 | 2013251129501.pdf | 20121281211521.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=347] วันที่รายงาน [27/8/2555] | |||
สรุปรายงานผลการดำเนินงาน กรกฎาคม สิงหาคม 2555 การดำเนินงานในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม 2555 ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ในขั้นตอนการดูแลรักษา โดยการกำจัดวัชพืชและการให้ปุ๋ย ซึ่งทางโครงการได้ใช้กระบวนการถ่ายทอดแบบกลุ่มจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบบรายบุคคลภายในแปลง โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ให้แก่เกษตรกรแบบกลุ่ม ในพื้นที่ บ.ห้วยขวาก ต.บ่อเกลือเหนือ อ. บ่อเกลือ จ.น่าน การจัดเวทีฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในช่วงเดือนสิงหาคม 2555 ได้นำความรู้ด้านการดูแลรักษาข้าวไร่ไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกร และให้เกษตรกรวิเคราะห์การเจริญเติบโตของข้าวในแปลง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และรวมแลกเปลี่ยนกระบวนการผลิต จำนวน 64 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 64 ครอบครัว ประเด็นการวิเคราะห์ จากสภาพปัญหาที่พบในแปลงเกษตรกรในระยะแตกกอ (ช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม) พบว่า - ข้าวในแปลงเกษตรกรมีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์ ต้นเตี้ย ใบเป็นสีเหลือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ลาดชัน จากการวิเคราะห์ร่วมกันพบว่าข้าวขาดธาตุอาหาร เนื่องจากใช้พื้นที่ปลูกซ้ำพื้นที่ทุกปี เป็นผลทำให้สภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทางโครงการจึงถ่ายทอดกระบวนการให้ปุ๋ย เพื่อให้เป็นการเรียนรู้การดูแลรักษาข้าวไร่โดยการให้ปุ๋ยที่ถูกต้องแก่ชุมชน โดยผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนกลุ่มอยากให้เกษตรกรทุกครอบครัวที่ปลูกข้าวไร่ได้เข้ามีส่วนร่วมเรียนรู้การใส่ปุ๋ยข้าวไร่ที่ถูกต้อง ประหยัด และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า จึงได้เสนอในการใช้ปุ๋ยเคมีแทนการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ เพราะว่า การใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจะต้องใช้ในปริมาณที่มาก การขนย้ายไปในแปลงต้องใช้เวลาและแรงงานค่อนข้างมาก กอปรกับการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพช่วงข้าวเจริญเติบโตในระยะแตกกอ ข้าวไม่สามารถนำไปเป็นอาหารได้ทันทีได้เนื่องจากต้องใช้เวลาประมาณ 15 30 วัน ปุ๋ยหมักชีวภาพถึงจะปรับโครงสร้างดินและเป็นอาหารของข้าวได้ ทางโครงการจึงเสนอให้ใช้ปุ๋ยเคมีแปลงละ 5 Kg./ แปลง โดยจะเลือกใส่ปุ๋ยในบริเวณที่ข้าวมีการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมในการได้เรียนรู้และได้ปฏิบัติจริง - ระบบรากข้าวถูกเพลี้ยแป้งทำลาย จากการเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์รวมกันกับเกษตรกร พบว่า มีบางส่วนเท่านั้นที่เกิดจากการทำลายของเพลี้ยแป้ง โดยต้นข้าวที่ถูกทำลาย ใบจะเหลืองซีด ส่วนใหญ่มักระบาดในระยะหลังงอกถึงระยะแตกกอ ทำให้ชะงักการเจริญ เติบโต แคระแกรนผิดปรกติ และถ้ามีการระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การเคลื่อนที่และแพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งมีมด (tending ants) เป็นแมลงพาหะ (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว) ประเด็นการถ่ายทอด 1. การให้ปุ๋ยข้าวไร่ เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการใส่ปุ๋ยให้แก่เกษตรกร เพราะเกษตรกรไม่เคยใส่ปุ๋ยในแปลงข้าวไร่มาก่อน ซึ่งถ้าหากมีการใส่ปุ๋ยเกษตรกรคิดว่าจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิม ถ่ายทอดโดยการให้ความรู้ในห้องประชุมและการสาธิตการใส่ปุ๋ยในแปลง โดยให้เกษตรกรใส่หลังจากการกัดวัชพืชโดยการหว่านให้ทั่วบริเวณที่ข้าวเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ จากการถ่ายทอดการให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่านแล้วเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนวิธีการใส่ปุ๋ยได้แก่การฉีดพ่นและหยอดระหว่างต้นข้าว ซึ่งแต่ละวิธีดังกล่าวเกษตรกรจะนำไปดำเนินการตามความถนัด ดังนั้นวิธีการใส่ปุ๋ยในแปลงข้าวไร่จึงมี 3 วิธี ได้แก่ - การหว่านหลังจากกำจัดวัชพืช - การฉีดพ่น - การหยอดระหว่างต้นข้าว 2. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์สำหรับทำเมล็ดพันธุ์ จากการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการใช้พันธุ์ข้าวร่วมกันกับเกษตรกรพบว่า เกษตรกรมักนิยมใช้พันธุ์ข้าวพันธุ์เดิมติดต่อกันหลายปี โดยไม่มีการคัดเมล็ดพันธุ์ เนื่องจากเกษตรเห็นว่าการใช้พันธุ์เดิมยังให้ผลผลิตได้อยู่ มีความสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี แต่ส่วนมากเป็นพันธุ์ไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตข้าวไร่ตกต่ำ เมื่อนำมาเทียบปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่แล้ว พบว่า ได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย เฉลี่ย 170 กก./ไร่ ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านการเพิ่มศักยภาพผลผลิตที่มีปัจจัยจากการใช้เมล็ดพันธุ์ จึงทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ให้บริสุทธิ์สำหรับทำเชื้อพันธุ์ การรักษาพันธุ์ข้าวไร่ให้บริสุทธิ์ ได้นั้นต้องมีการกำจัดพันธุ์ปน โดยที่เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกข้าวไร่ให้อย่างใกล้ชิด เพราะว่าการเกิดการปะปนพันธุ์ข้าวเพียงเมล็ดเดียว จะเป็นต้นข้าวในปีต่อไปเป็นจำนวนหลายร้อยต้น พันข้าวไร่จึงปะปนกันเพิ่มขึ้นและในที่สุดก็จะไม่สามารถใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ได้ โดยให้เกษตรกรเริ่มคัดพันธุ์ตั้งแต่ข้าวออกดอกจากการดูความสม่ำเสมอของการออกดอก ถ้าต้นไหนออกดอกไม่พร้อมกันจะให้เกษตรกรถอนทิ้ง หรือทำเครื่องหมายไว้ที่ต้น เมื่อถึงระยะการเก็บเกี่ยวให้แยกพันธุ์ข้าวที่คัดเลือกเก็บแยกไว้สำหรับทำเชื้อพันธุ์ โดยมีวิธีดังนี้ - การถอนพันธุ์ปนทิ้ง คือ ทำตอนที่ต้นข้าวอยู่ในระยะออกดอก ถึง ระยะเป็นแป้งอ่อน - ใช้เชือกฟางสีต่าง ๆ มัดตรงคอรวงข้าวที่ต้องการคัดเมล็ดไว้ทำเล็ดพันธุ์ 3.จัดการเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงดิน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบการปลูกข้าวไร่เกษตรกรได้ให้ความสำคัญปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก เพราะว่าถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้ข้าวเจริญเติมโตได้ดี มีโรคและแมลงรบกวนน้อย และไม่จำเป็นต้องพึ่งปุ๋ยเคมีในการบำรุงรักษา จากการแลกเปลี่ยนกระบวนการคิดทั้งในระดับวิชาการและองค์ความรู้ของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีกระบวนการคิดที่สอดคล้องกับหลังวิชาการ ดังนี้ - การปรับปรุงดินโดยการปลูกถั่วคลุมดินหลังเก็บเกี่ยว - การแบ่งแปลงปลูกข้าวสลับการการปลูกถั่วบำรุงดิน - การใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพในช่วงเตรียมแปลง 2) ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ให้แก่เกษตรกรแบบรายบุคคล ในพื้นที่ บ.ห้วยขวาก ต.บ่อเกลือเหนือ อ. บ่อเกลือ จ.น่าน จากการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรที่มีความสนใจนำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ไปปฏิบัติอย่างเข้มข้น จำนวน 10 ราย โดยเริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงโดยใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ การใช้พันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ การปลูกในระยะที่เหมาะสม และการจัดการเขตกรรมตามคำแนะนำ โดยเน้นกระบวนการถ่ายทอดแบบรายบุคคล คือ การเข้าไปพบในแปลง หรือตามโอกาสต่างๆ ที่เจอกัน ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้การและสังเกตจากการทดลองใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ในแปลงตนเอง โดยเกษตรกรได้สะท้อนความคิดและความรู้สึกผ่านการเจริญเติบโตของข้าว คือ การใช้พันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์ของสายพันธุ์ทำให้มีการเจริญเติบโตที่สม่ำเสมอ โรคและแมลงในแปลงมีน้อยเมื่อเทียบกับแปลงเดิม เป็นต้น | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 64 ปัญหาอุปสรรค : ไม่พบ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=348] วันที่รายงาน [27/8/2555] | |||
สรุปรายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2555 1) การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ ในช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม 2555 ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่เพื่อให้เกษตรกร แต่ละรายนำไปปฏิบัติอย่างเข้มข้น โดยการถ่ายทอดแบบกลุ่มย่อยและแบบรายบุคคลให้แก่เกษตรกร จำนวน 10 ราย ในขั้นตอนการเตรียมแปลง การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ และการปลูก พบว่า เกษตรกรแต่ละรายได้ทดลองการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ดังกล่าวในพื้นที่ 200 ตารางเมตร และใช้พันธุ์ข้าวที่มีความเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ที่มีความบริสุทธิ์ รายละ 1 สายพันธุ์ ๆ 2 กิโลกรัม โดยเกษตรกรได้นำไปปฏิบัติ ดังนี้ 1.1 การเตรียมแปลงก่อนปลูก เกษตรกรปลูกในพื้นที่เดิมและมีการขุดเปิดหน้าดินก่อนปลูก แต่ไม่ได้ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยเกษตรกรจะนำไปใส่ในช่วงที่ปลูก และการกำจัดวัชพืชครั้งแรก 1.2 การใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อสภาพพื้นที่และเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความบริสุทธิ์ ได้แก่ ข้าวเล็บช้าง ข้าวขาว ข้าวลาย ข้าวแพร่แดง ข้าวแพร่ขาว ข้าวหนอน ข้าวปีก ข้าวเหลือง และข้าวคูณ โดยเกษตรกรเห็นว่าการใช้พันธุ์ข้าวที่มีความบริสุทธิ์จะทำให้ผลผลิตต่อพื้นที่เพิ่มขึ้น และลดความเสียงจากภัยธรรมชาติที่มีต่อพันธุ์ข้าว เช่น การเข้าทำลายจากสัตว์ศัตรูข้าว เนื่องจากในพื้นที่มีการใช้พันธุ์ข้าวอยู่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น 1.3 การปลูก เกษตรกรปลูกโดยใช้ระยะระหว่างหลุมประมาณ 25 x 25 เซนติเมตรใช้เมล็ดต่อหลุมประมาณ 8 10 เมล็ด และนำปุ๋ยหมักชีวภาพใส่หลังปลูกเสร็จ จำนวน 5 ราย ส่วนการปลูกในแปลงหลักยังพบว่า มีระยะระหว่างหลุมประมาณ 25 x 25 เซนติเมตร แต่มีการใช้เมล็ดปลูกค่อนข้างมากประมาณ 15 20 เมล็ดต่อหลุม การเจริญเติมโตหลังปลูก ช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 พบว่า ในแปลงเกษตรกรที่นำข้าวเล็บช้าง ข้าวลาย ข้าวแพร่แดง ข้าวแพร่ขาว ข้าวหนอน ข้าวปีก และข้าวเหลือง มีอัตราการงอกสูง มีการเจริญเติบโตในระยะต้นกล้าที่สมบูรณ์ 2) การปลูกข้าวไร่โดยรวมของหมู่บ้าน เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ปลูกข้าวไร่อย่างต่อเนื่องติดต่อกันตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไปจนถึง 10 ปี ซึ่งแต่ละครอบครัวมีพื้นที่ปลูกข้าวอย่างน้อยครอบครัวละ 3-5 แปลงต่อปี ฤดูกาลทำไร่ข้าวจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมของทุกๆ ปี เตรียมแปลงโดยการกำจัดวัชพืชแบบถางแล้วเผา หลังจากนั้นจะใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทดูดซึมพ่นทักอีกรอบ หรือบางรายกลังกำจัดวัชพืชแล้วจะพลิกหน้าดินโดยขุดลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ซึ่งมีการลงแขกเอาแรงกันตั้งแต่ 20 30 แรงขึ้นไปจนถึงเดือนมีนาคม แล้วจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างหลุมห่างประมาณ 25 เซนติเมตร ใช้เมล็ดข้าวปลูกประมาณ 10-20 เมล็ดต่อหลุม และหลังปลูกเสร็จประมาณ 1 3 วัน จะพ่นยาคลุมหญ้าอีกครั้ง พันธุ์ข้าวที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นข้าวแพร่ ลองลงมาได้แก่ ข้าวเหลือง และข้าวแป้น ซึ่งพันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการคัดเมล็ดพันธุ์ และในปี 2555 เกษตรกรได้นำข้าวหอมมะลิมาปลูกเพิ่มอีก 1 สายพันธุ์ ปัจจุบัน (พฤษภาคม 2555) ข้าวอยู่ในระต้นกล้า พบว่า ช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตหลังการงอก 20 วัน (ประมาณช่วงวันที่ 1 20 พฤษภาคม 55: ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เกษตรกร) ข้าวเจริญเติบโตสมบูรณ์ แต่หลังจากนั้น ข้าวไร่ถูกแมลงศัตรูเข้าทำลาย โดยมีอาการยอดแห้งทำให้ยอดอ่อนของต้นข้าวแสดงอาการยอดเหี่ยวแล้วแห้งตายในที่สุด จากการสำรวจของกลุ่มเกษตรกร พบว่า มีพื้นที่ของเกษตรกร จำนวน 20 ราย ได้รับความเสียหาย คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 50 ไร่ (ข้อมูล 30 พฤษภาคม 55) ซึ่งมีแนวโน้มจะระบาดเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจแปลงร่วมกันเกษตรกรเพื่อหาวิธีกำจัดและป้องกัน พบว่า แมลงศัตรูที่เข้าทำลายมี 3 ชนิด คาดว่าเป็นกลุ่มจำพวกแมลงดังนี้ แมลงวันเจาะยอดกล้า ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัยวางไข่ที่ใต้ใบ หลังจากฟักเป็นตัวหนอนแล้ว หนอนจะคืบคลานลงสู่บริเวณโคนกาบใบและอาศัยเขี่ยดูดกินอยู่ที่จุดเจริญเติบโต ของต้นข้าว จะเข้าทำลายข้าวไร่ในระยะต้นกล้าถึงระยะแตกกอ ยอดต้นข้าวที่ถูกทำลายมีอาการ "ยอดแห้ง" ต้นที่ยอดแห้งจะพบหนอนเพียงตัวเดียวเท่านั้น ทำให้ยอดอ่อนของต้นข้าวแสดงอาการยอดเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด จะระบาดทำลายต้นฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และจะรุนแรงหลังระยะฝนทิ้งช่วง การป้องกันกำจัด ใช้กับดักปลาป่นดักจับและทำลายตัวเต็มวัย โดยใช้น้ำผสมผงซักฟอกเล็กน้อย ใส่ลงในถาดหรือกะละมังเก่าๆ นำกระป๋องนมที่เจาะรูเล็กๆ โดยรอบ ใส่ปลาป่น (ที่ใช้เลี้ยงไก่) ผสมน้ำวางไว้ตรงกลาง นำไปไว้แปลงปลูก และคอยเปลี่ยนน้ำหรือปลาป่นที่สกปรก แมลงวันเจาะยอดกล้าจะบินเข้ากับดัก ตกลงในน้ำที่ผสมผงซักฟอกและตาย ควรกระทำตลอดทั้งปี เพื่อลดปริมาณตัวตัวเต็มวัยของแมลงในฤดูปลูก (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว) ด้วงดีด ชาวบ้านเรียกว่า แมงไฟ หนอนแมลงนูน ชาวบ้านเรียกว่า แมงบ้งโก้ม ลักษณะการทำลาย โดยหนอนที่อาศัยอยู่ในดิน กัดกินส่วนรากของต้นข้าว ทำให้สูญเสียระบบรากทั้งหมด การทำลายข้าวไร่มักปรากฏเป็นหย่อมๆ ไม่แพร่กระจายไปทั้งแปลงปลูก ลักษณะต้นข้าวที่ถูกทำลายในระยะแรก จะเหลืองซีด ชะงักการเจริญเติบโต เนื่องจากระบบรากถูกทำลาย ต่อมาใบข้าวจะแห้งตายมากผิดปรกติ และจะแห้งตายทั้งกอในที่สุด การป้องกันกำจัด จับตัวเต็มวัยมารับประทานเป็นอาหาร และสังเกตการทำลายต้นข้าว ซึ่งทั้งกอจะเหลืองซีดผิดปกติและแห้งตายอย่างรวดเร็ว ให้ขุดจับตัวหนอนทำลาย ทิ้ง เพื่อมิให้เคลื่อนย้ายไปทำลายกอใกล้เคียงได้อีก (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว) นอกจากนั้นแล้วการเกิดแมลงศัตรูพืชระบาด อาจมีสาเหตุมาจากการใช้พื้นที่ดินปลูกข้าวไร่ติดต่อกัน (การใช้พื้นที่ซ้ำซาก) การใช้พันธุ์ข้าวสายพันธุ์เดิมติดต่อกันและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ในพื้นที่น้อย ดังจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ข้าวที่โครงการนำไปปลูก ได้แก่ ข้าวเล็บช้าง ข้าวลาย ข้าวแพร่แดง ข้าวแพร่ขาว ข้าวหนอน ข้าวปีก และข้าวเหลือง ยังไม่พบการเข้าทำลายของแมลงศัตรูข้าวไร่ในระยะกล้า | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 10 ปัญหาอุปสรรค : ไม่พบ แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2556 | 250,000|210,000|44,000|166,000 | 201312892521.pdf | 2014317121631.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=541] วันที่รายงาน [18/4/2556] | |||
ตารางกิจกรรม ปี ๒๕๕๖ หมู่บ้านการจัดการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ บ.ห้วยขวาก ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013418925181.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=613] วันที่รายงาน [29/4/2556] | |||
รายงานผลการดำเนินงาน โครงการการหมู่บ้านการจัดการองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ บ.ห้วยขวาก ต.บ่อเกลือเหนือ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน ประจำเดือนมีนาคม - เมษายน 2556 1. สรุปบทเรียนในการจัดการองค์ความรู้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ จากการวิเคราะห์ระหว่างปี 2553 - 2554 พบว่า ขั้นตอนการผลิตข้าวไร่ของเกษตรกรบ้านห้วยขวากบางขั้นตอนมีความสอดคล้องกับเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ โดยเฉพาะในขั้นตอนการเตรียมแปลง ส่วนขั้นตอนการปลูก การใช้เมล็ดพันธุ์และการดูแลรักษา ยังปฏิบัติตามวิถีเดิมอยู่ ปี 2555 เกษตรกรมีการดูแลรักษา การคัดเลือกพันธุ์ และการดูแลแปลงหลังเก็บเกี่ยว เพราะว่าในปี 2555 ข้าวไร่ประสบปัญหาการระบาดของหนอนแมลงวันเจาะยอด ส่งผลให้ข้าวในช่วงระยะกล้าได้รับความเสียหาย เกษตรกรจึงมีการนำเทคโนโลยีด้านการดูแลรักษาไปปฏิบัติ (ปลูกเสริมและใส่ปุ๋ย) ทำการคัดเลือกพันธุ์ และปลูกพืชตระกูลถั่วในแปลงหลังเก็บเกี่ยว (10 ราย) ปี 2556 เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวไร่วันที่ 19 เมษายน (มีการลงแขกช่วยกัน 70 ราย) ความเข้าใจของเกษตรกรต่อการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ในขั้นตอนการปลูก พบว่า เกษตรกรมีความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ คือปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างหลุม 20 x 20 ซม. และใช้เมล็ดข้าวปลูกประมาณ 1 กำมือ จะปลูกได้ 12 15 หลุม หรือประมาณ หลุมละ 8 10 เมล็ด โดยเกษตรกรมีเหตุผลในการปลูก คือ เพื่อสร้างจำนวนต้นข้าวให้ได้มากต่อพื้นที่และลดความเสียงจากการทำลายของโรคและแมลง เพราะว่า ถ้าปลูกในระยะที่ห่างกันมาก อาจจะทำให้ต้นข้าวในพื้นที่มีจำนวนลดลงจากการทำลายของโรคและแมลง (ภาพที่ 1) ถึงแม้ว่าการปลูกในระยะที่ห่างจะทำให้ข้าวมีการแตกกอที่ดีแต่เกษตรกรไม่กล้าเสียง (ข้อมูลจากเกษตรกรที่นำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ไปปฏิบัติอย่างเข้มข้น 6 ราย) แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรมีการพัฒนาและจัดการเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตปลูกข้าวไร่ในขั้นตอนปลูกที่เหมาะสมบนพื้นฐานของสภาพพื้นที่ เพื่อลดความเสียงจากการทำลายของโรคและแมลง 2. ประชุมกลุ่มผู้นำเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ไปปฏิบัติอย่างเข้มข้น จากการประชุมแลกเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ทั้ง 6 ขั้นตอน เกษตรกรเห็นว่า ถ้าหากนำเทคโนโลยีด้านพันธุ์ข้าวที่ดีมีความบริสุทธิ์มาใช้ในการถ่ายทอดเป็นหลัก จะช่วยให้เกษตรกรในชุมชนเกิดการยอมรับและนำเอาเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตอีก 5 ขั้นตอนไปปฏิบัติได้เร็วขึ้น เพราะว่า ถ้าเกษตรกรได้พันธุ์ดีมีความบริสุทธิ์ไปปลูก เกษตรกรจะให้ใส่ใจต่อการเตรียมแปลง การปลูก การดูแลรักษา การคัดเลือกพันธุ์ และการดูแลแปลงหลังเก็บเกี่ยวเพิ่มมากขึ้น จากประเด็นดังกล่าวได้นำไปสู่การค้นหาศักยภาพของกลุ่มในการทำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีมีความบริสุทธิ์ พบว่า เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการคัดเลือกและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ คือ เกษตรกรจะคัดเลือกพันธุ์ข้าวในช่วงระยะเก็บเกี่ยว โดยเลือกเกี่ยวต้นข้าวที่มีรวงสมบูรณ์ ตรงตามสายพันธุ์หลักก่อน หลังจากนั้นถึงจะเกี่ยวข้าวที่จะนำไปบริโภค และมีวิธีการมัดต้นข้าวหลังเกี่ยวระหว่างข้าวที่จะนำไปทำเมล็ดพันธุ์กับข้าวที่จะนำไปบริโภคแตกต่างกัน เพื่อทำเป็นสัญลักษณ์และง่ายต่อการคัดแยก แสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความละเอียดและมีศักยภาพในการทำเมล็ดพันธุ์ข้าว แต่ต้องให้ความรู้หลักวิชาการด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรเพิ่มเติม ด้วยประเด็นดังกล่าวจึงนำไปสู่การต่อยอดในกระบวนของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ในปี 2556 โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.1 /2.12.1ประเด็นการทำเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ เกษตรกรสนใจปลูกเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเองและขยายเมล็ดข้าวพันธุ์ดีที่มีความบริสุทธิ์ให้แก่เพื่อนบ้าน เพราะเกษตรกรเห็นว่าการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่มีความบริสุทธิ์จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น แต่ต้องมีพันธุ์ข้าวที่หลากหลาย โดยเกษตรกร 6 รายจะทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวขาวภูฟ้า รายละ 10 กก. และอีก 5 ราย จะใช้พันธุ์เดิมปลูกเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ต่อ (เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่โครงการนำไปให้ปลูกขยายในปี 2555 ซึ่งจะมีพันธุ์ไม่ซ้ำกัน) ปลูกรายละ 10 กก. ส่วนเมล็ดพันธุ์ที่เหลือจะปลูกเพื่อใช้สำหรับบริโภค ประเด็นการจัดการแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรจะแบ่งพื้นที่ให้ชัดเจนระหว่างแปลงข้าวที่ทำเมล็ดพันธุ์กับพันธุ์ข้าวที่ใช้บริโภค โดยจะใช้พื้นที่บริเวณหัวแปลงหรือแปลงที่อยู่บนแปลงข้าวที่สำหรับปลูกไว้บริโภคทำเป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ เพราะป้องกันการปนกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกไว้บริโภค 3. ถ่ายทอดความรู้การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ มีเกษตรกรเข้ารับการถ่ายทอดจำนวน 45 ราย ถ่ายทอดความรู้การผลิตโดยวิทยากรชุมชน (นายเลิศ คงธนรักษ์) โดยมีประเด็นการถ่ายทอด คือ ความสำคัญของปุ๋ยหมักชีวภาพที่มีต่อชุมชน การลดต้นทุนในภาคเกษตรกรรมจากการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ และวิธีการผลิต วัสดุที่ให้ทำปุ๋ยหมักเน้นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ได้แก่ มูลวัว แกลบ ดอกก๋ง (วัสดุที่เหลือใช้จากการทำไม้กวาด) และใบไม้แห้ง เพื่อให้การย่อยสลายวัสดุหมักมีคุณภาพ ได้ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นสารกระตุ้นในการย่อยสลาย ซึ่งสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูง (กรมพัฒนาที่ดิน) 4. การถ่ายทอดความรู้การดูแลรักษาต้นกาแฟหลังเก็บเกี่ยว จากการสำรวจโรคและแมลงที่รบกวนกาแฟในพื้นที่ช่วงเดือน พฤศจิกายน 2555 (สำรวจและประเมินโรคจากคณะอาจารย์จากศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับเกษตรกร) พบว่ามีอยู่ 4 ชนิด ได้แก่ เพลี้ยหอยสีเขียว หนอนเจาะลำต้น (ตัวหนอนสีขาว) หนอนกาแฟสีแดง และโรคกิ่งและยอดแห้ง โดยเฉพาะเพลี้ยหอยสีเขียวที่มีการระบาดมาก แต่ต้องทำการป้องกันกำจัดหลังจากที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต ดังนั้นในช่วงเดือน เมษายน สิงหาคม เป็นช่วงที่กาแฟยังไม่ให้ผลผลิต จึงจำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด มีวิธีโดยให้เกษตรกรใช้ไวท์ออยล์ (White oil) ซึ่งเป็นสารที่มาจากปิโตรเลียมที่มีคุณสมบัติในการป้องกันศัตรูพืช (เป็นสารในกลุ่มสารชีวภาพ) มีฤทธิ์การทำลายโดยการปกคลุมหรือแทรกซึมเข้าไปในศัตรูพืชโดยเฉพาะศัตรูพืชจำพวกเพลี้ย ใช้โดยนำมาผสมน้ำในอัตรา ไวท์ออยล์ 150 cc (ประมาณ 1 ขวดกระทิงแดง) : น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็นในต้นที่มีอาการทุก ๆ 10 วัน จนกว่าอาการจะหาย | ค่าใช้จ่าย : 44,000 จำนวนผู้รับบริการ : 128 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 2013751430321.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=678] วันที่รายงาน [5/7/2556] | |||
1. การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ 1.1 ติดตามการผลิตข้าวไร่ของเกษตรกรในระยะการปลูก ในพื้นที่ประมาณ 95 แปลง จาก 48 ครอบครัว พบว่า เกษตรกรมีความเข้าใจในการนำไปปฏิบัติ คือปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างหลุม 20 x 20 ซม. และใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูกประมาณ หลุมละ 8 10 เมล็ด (1 กำมือ จะปลูกได้ 12 15 หลุม) โดยเกษตรกรมีเหตุผลในการปลูก คือ เพื่อสร้างจำนวนต้นข้าวให้ได้มากต่อพื้นที่และลดความเสียงจากการทำลายของโรคและแมลง เพราะว่า ถ้าปลูกในระยะที่ห่างกันมาก อาจจะทำให้ต้นข้าวในพื้นที่มีจำนวนลดลงจากการทำลายของโรคและแมลง ถึงแม้ว่าการปลูกในระยะที่ห่างจะทำให้ข้าวมีการแตกกอที่ดีแต่เกษตรกรไม่กล้าเสี่ยง แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรมีการพัฒนาและจัดการเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตปลูกข้าวไร่ในขั้นตอนปลูกที่เหมาะสมบนพื้นฐานของสภาพพื้นที่ เพื่อลดความเสียงจากการทำลายของโรคและแมลง 1.2 จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ที่มีคุณภาพให้แก่ชุมชน มีสมาชิกจำนวน 10 คน ได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวไร่และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกร ลำดับ ชื่อ สกุล ชนิด/พันธุ์ข้าว จำนวนเมล็ด (กก.) แหล่งที่มา 1 นายเดช อุ่นถิ่น ข้าวขาว 2 จากโครงการสนับสนุนปี 55 2 นายชาญ อุ่นถิ่น ข้าวเหลือง 10 3 นายยศ อุ่นถิ่น ข้าวหนอน 10 4 นายพรชัย อุ่นถิ่น ข้าวปีก 10 5 นายรัตน์ อุ่นถิ่น ข้าวขาว 10 กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร บ.ห่างทางหลวง ต.ภูฟ้าอ.บ่อเกลือ จ.น่าน 6 นายศักดิ์ อุ่นถิ่น ข้าวขาว 10 7 นายแทน อุ่นถิ่น ข้าวขาว 10 8 นายบุญเลิศ คงธนรักษ์ ข้าวขาว 10 9 นายติ๊บ อุ่นถิ่น ข้าวขาว 10 10 นายชาญ อุ่นถิ่น ข้าวขาว 10 2. การปลูกสตรอเบอร์รี่เพื่อผลิตต้นไหล โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2.1 เป้าหมายการผลิต 30,000 ต้น ใช้ต้นแม่พันธุ์ปลูก 1,092 ต้น ปลูกวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 มีเกษตรกรนำไปปลูก 3 ราย 2.2 การเตรียมแปลง พื้นที่ปลูกมี 2 ลักษณะ ได้แก่ - พื้นที่ลาดชัด เตรียมแปลงโดยการขุดพื้นที่ให้เป็นขั้นบันได หน้ากว้างขนาด 1 เมตรแล้วปรับพื้นให้เสมอกัน - พื้นที่ราบ เตรียมแปลงโดยกำจัดวัชพืชให้สะอาดแล้วปรับพื้นให้เสมอกัน 2.3. วิธีการปลูก - ปลูกในถุงเพาะขนาด 7 x 14 นิ้ว - วัสดุปลูกที่ใช้คือ ดิน ปุ๋ยหมัก และมูลวัว นำมาผสมกันในอัตราส่วน 2: 1: 1 แล้วนำมากรอกใส่ถุงปลูกประมาณ 4 ใน 5 ของขนาดถุง (ประมาณ 80%) 2.4 การวางถุงปลูก - การวางถุงปลูกในพื้นที่ขั้นบันใด ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 1 เมตร และระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร (150 x 50 ซม.) - การวางถุงปลูกในพื้นที่ราบ ใช้ระยะห่างระหว่างแถว 60 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร (60 x 50 ซม.) - ก่อนการวางถุงปลูกได้ทำการขุดบริเวณที่จะวางถุงลึก 5 10 เซนติเมตร กว้างเท่ากับขนาดของถุง 2.5 การปลูก รดน้ำให้ชุ่มก่อนปลูก หลังจากนั้นนำไม้ปลายแหลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร กระทุ้งให้เป็นหลุมลึกประมาณ 5 เซนติเมตร นำต้นแม่พันธุ์ลงปลูกโดยให้ยอดโผล่พ้นจากหลุม แล้วกดดินบริเวณโคนต้นให้พอดีไม่เน้นเกินไป หลังจากปลูกเสร็จนำน้ำมารดอีกครั้ง 3. การถ่ายทอดความรู้การดูแลรักษาต้นกาแฟหลังเก็บเกี่ยว 3.1 หลังจากให้ความรู้การป้องกันกำจัดศัตรูกาแฟจำพวกเพลี้ยหอยสีเขียวให้แก่เกษตรกรที่ทำการปลูกกาแฟ จำนวน 73 ราย โดยให้เกษตรกรใช้ไวท์ออยล์ (White oil) พบว่า เกษตรกรนำไปใช้ทุกราย ทำให้การระบาดของเพลี้ยหอยสีเขียวลดลงเป็นจำนวนมาก (ข้อมูลจากการสำรวจและจากเกษตรกร) | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 83 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=849] วันที่รายงาน [18/10/2556] | |||
แผนการดำเนินงานช่วงขยายเวลา | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 201310181352431.pdf |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates