หน่วยงานรับผิดชอบ :
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
สถานะหมู่บ้าน : เข้มแข็งเติบโต
ปีงประมาณ | งบขอ|ได้รับ|ใช้|คงเหลือ | ข้อเสนอโครงการ | รายงานฉบับสมบูรณ์ |
2554 | |130,000||130,000 | 2012391027301.pdf | 2012391018321.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
2555 | 180,000|130,000|130,000|ใช้หมด | 2012431614231.pdf | 2014341116401.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=203] วันที่รายงาน [2/4/2555] | |||
ผลการดำเนินงาน 1.วันที่ 11-12 กุมภาพันธ์ 2555 การให้คำปรึกษาการทำวัคซีนไก่พื้นเมืองและการจัดการฟาร์ม ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยให้ ผศ.บุญชู นาวานุเคราะห์ รศ.ดร.พรรณระพี อำนวยสิทธิ์ ดร.ณิฐิมา เฉลิมแสนและผศ.พนอม ศรีวัฒนสมบัติ เป็นวิทยากรให้คำปรึกษา 2.วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 การให้คำปรึกษาการป้องกันโรคระบาดและการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาใช้ทำอาหารเลี้ยงไก่ ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยให้ ผศ.บุญชู นาวานุเคราะห์ รศ.ดร.พรรณระพี อำนวยสิทธิ์ ดร.ณิฐิมา เฉลิมแสนและผศ.พนอม ศรีวัฒนสมบัติ เป็นวิทยากรให้คำปรึกษา 3.วันที่ 28 มีนาคม 2555 แจ้งผลการพิจารณางบประมาณในการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ2555 ให้สมาชิกทราบและร่วมวางแผนการดำเนินงาน | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : ปัญหาอุปสรรค : การผลิตลูกไก่ได้น้อยเพราะอากาศร้อนและแม่ไก่ไม่สามารถฟักออกได้ แนวทางแก้ไข : ให้คำปรึกษาด้านการจัดการฟาร์ม การฟักไข่ และประดิษฐ์ตู้ฟักไข่ใช้เองในกลุ่มสมาชิก ไฟล์แนบกิจกรรม : 201242123271.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=249] วันที่รายงาน [15/6/2555] | |||
1.วันที่ 23 มพฤษภาคม 2555 เดินทางให้คำปรึกษาการทำวัคซีนและกรถ่ายพยาธิในไก่พื้นเมือง ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 16 คน ผลที่ได้ กลุ่มสมาชิกเข้าใจความสำคัญในการทำวัคซีนและสามารถปฏิบัติได้ โดยมีแกนนำหรือวิทยากรกลุ่มถ่ายถอดให้สมาชิกได้ 5 คน 2.วันที่ 9 มิถุนายน 2555 เดินทางให้คำปรึกษา เรื่องการใช้เครื่องบดวัตถุดิบอาหารไก่พื้นเมืองและการประกอบสูตรอาหารในท้องถิ่น ณ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 16 คน ผลที่ได้ กลุ่มสมาชิกสามารถใช้เครื่องบดได้และเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงไก้พื้นเมืองได้ 3.วันที่ 16 มิถุนายน 2555 เดินทางให้คำปรึกษาการฟักไข่และการเลี้ยงลูกไก่ระยะต่างๆ ณ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่พื้นเมือง บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก | ค่าใช้จ่าย : 14,919 จำนวนผู้รับบริการ : ปัญหาอุปสรรค : ความชื้นในบรรยากาศสูงทำให้แม่ไก่ไม่สามารถฟักไข่ได้ แนวทางแก้ไข : ประชุมกลุ่มเพื่อที่จะสร้างเครื่องฟักไข่ในชุมชน แก้ไขปัญหาดังกล่า ไฟล์แนบกิจกรรม : 2012615152821.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=401] วันที่รายงาน [28/9/2555] | |||
1.วันที่ 30 มิถุนายน 2555 อบรมการใช้สารชีวภาพและพืชสมุนไพรในการเลี้ยงไก่และการป้องกันโรค บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 2.วันที่ 18 กรกฎาคม 2555 อบรม การใช้เครื่องฟักไข่แบบอัตโนมัติและการกกลูกไก่ บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 3.วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ติดตามการใช้ตู้ฟักไข่ บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 4.วันที่ 26 สิงหาคม 2555 ให้คำปรึกษาการใช้เครื่องบดอาหารและการทำอาหารไก่ บ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก 5.วันที่ 3 กันยายน 2555 สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการยกระดับชุมชนเป็นชุมชนแม่ข่ายของหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ บ้านมะตูม ตำบลมะตูม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก | ค่าใช้จ่าย : 79,249 จำนวนผู้รับบริการ : 66 ปัญหาอุปสรรค : เกิดโรคระบาดในชุมชน แนวทางแก้ไข : หาแนวทางป้องกันโรคและการทำวัคซีน ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=471] วันที่รายงาน [29/11/2555] | |||
วันที่ 11 ตุลาคม 2555 อบรมการผลิตอาหารไก่พื้นเมืองจากวัสดุในท้องถิ่นและการตลาดและการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม 18 คน ผลจากการฝึกอบรม สมชิกกลุ่มไก่พื้นเมืองสามารถเข้าใจและปฏิบัติงานได้จริง สามารถวางแผนการผลิตอาหารได้ ส่วนในด้านการทตลาดนั้น ปัจจุบันก็มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อตลอด แต่ในด้านการทำบัญชีนั้นยังมีน้อยที่ยังทำบัญชี คงต้องหาแบบฟอร์มที่ง่ายในการกรอกข้อมูลและสร้างแรงจูงใจสำหรับคนที่กรอกข้อมูลต่อไป วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 จัดทำศูนย์การเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โดยใช้บ้านของสมาชิกแต่ละคนในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและทำเป็นศูนยการเรียนรู้ | ค่าใช้จ่าย : 30,000 จำนวนผู้รับบริการ : 18 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=483] วันที่รายงาน [22/1/2556] | |||
วันที่ 13 ธันวาคม 2555 จัดทำศูนย์การเรียนรู้เรื่องการเลี้ยงไก่พื้นเมืองและประเมินผลการดำเนินงาน | ค่าใช้จ่าย : 5,832 จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
2556 | 200,000|200,000|200,000|ใช้หมด | 2013129109231.pdf | 20145301553421.pdf |
รายงานผลการดำเนินงาน | |||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 1 [IG=517] วันที่รายงาน [1/4/2556] | |||
1.จัดนิทรรศการไก่พื้นเมืองโดยนำกลุ่มสมาชิกที่ร่วมโครงการหมู่บ้านไก่พื้นเมือง(หมู่บ้านวิทยาศาสตร์) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มอื่นก่อให้เกิดเครือข่ายการเลี้ยงไก่พื้นเมือง ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2556 ณ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก (ส่วนทะเลแก้ว) 2.ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการโรงเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้กลุ่มสมาชิก ในวันที่ 13 มีนาคม 2556 ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วม 18 คน โดยให้ผศ.พนอม ศรีวัฒนสมบัติ ,ดร.ณิฐิมา เฉลิมแสน,ผศ.บุญชู นาวานุเคราะห์ และนายดำรงค์ศักดิ์ สุวรรณศรี ร่วมบรรยาย ทำให้เกษตรกรมีความเข้าใจและนำไปปฏิบัติที่โรงเรือนของแต่ละบุคคลได้อย่าง ถูกต้อง โดยได้รับความร่วมมือจากปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลกร่วมถ่ายทอดด้วย | ค่าใช้จ่าย : 39,598 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 2 [IG=639] วันที่รายงาน [20/6/2556] | |||
ผลการดำเนินงาน วันที่ 10 เมษายน 2556 จัดทำศูนย์การเรียนรู้ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว และให้คำปรึกษาการกกลูกไก่ ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 23 เมษายน 2556 จัดทำศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งศึกษาดูงาน และการฟักไข่ สำหรับวิทยากรกลุ่ม และสมาชิกณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 3 พฤษภาคม 2556 เปิดป้ายโครงการหมู่บ้านไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว ณ กลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมืองบ้านสามเส้า ตำบลคันโช้ง อ.วัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีเจ้าอาวาสวััดสามเส้าร่วมประกอบพิธีสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลในกลุ่ม วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 การให้คำแนะนำการทำอาหารไก่จากวัตถุดิบในท้องถิ่น วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 การติดตามการทำอาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่น วันที่ 13 มิถุนายน 2556 การประชุมร่วมเครือข่ายที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน ประกอบด้วย อบต.คันโช้ง,สำนักงานปศุสัตว์อำเภอวัดโบสถ์,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลกและกลุ่มสมาชิก เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานต่อไปหลังจากหมดงบประมาณไปแล้ว ซึ่งทางสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ จะเข้ามาให้การสนับสนุนด้านการควบคุมโรคและวัสดุอุกรณ์ ส่วนอบต.คันโช้ง จะนำเข้าไปบรรจุในแผนชุมชน เพื่อหาแนวทางสนับสนุนต่อไป และทางมหาวิทยาลัยฯจะเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ผลความสำเร็จการดำเนินงาน ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารไม่ลองไม่รู้ เกษตรมือโปร ฉบับที่ 143 ประจำเดือน มิถุนายน 2556 | ค่าใช้จ่าย : 82,371 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : ไม่มี แนวทางแก้ไข : ไม่มี ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 [IG=742] วันที่รายงาน [17/9/2556] | |||
รายงานผลการดำเนินงาน 1.วันที่ 4 กรกฎาคม 2556 จัดประชุมร่วมหาแนวทางการพัฒนาชุมชนเป็นหมู่บ้านต้นแบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว และให้คำปรึกษาการทำอาหารจากวัตถุดิบในท้องถิ่นและการทำวัคซีนป้องกันโรค ณ บ้านสามเส้า อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 20 คน 2.วันที่ 17 สิงหาคม 2556 ให้คำปรึกษาการเลี้ยงไก่เหลืองหางขาว และจัดเตรียมข้อมูลการเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการอนุรักษ์สายพันธุ์ไก่เหลืองหางขาว และจัดเตรียมวิทยากรประจำกลุ่ม ณ บ้านสามเส้า อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 20 คน 3.วันที่ 19-20 สิงหาคม 2556 จัดนิทรรศการไก่พื้นเมืองเหลืองหางขาว งานเปิดรั้วงานราชมงคลล้านนา งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก มีจำนวน 45 คน | ค่าใช้จ่าย : 63,660 จำนวนผู้รับบริการ : 45 ปัญหาอุปสรรค : เกิดโรคระบาดในพื้นที่การดำเนินงาน แนวทางแก้ไข : มีการทำวัคซีนป้องกันในเบื้องต้นและแจ้งไปยังสำนักงานปศุสัตว์ช่วยควบคุม ไฟล์แนบกิจกรรม : | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 4 [IG=843] วันที่รายงาน [8/10/2556] | |||
แผนการดำเนินงานช่วงขยายเวลาปี 2556 | ค่าใช้จ่าย : จำนวนผู้รับบริการ : 0 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : 20131081150301.pdf | ||
รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 5 [IG=858] วันที่รายงาน [6/1/2557] | |||
1.วันที่14 พ.ย.56 อบรมการผลิตไก่อินทรีย์และการตลาด 2.วันที่ 15 พ.ย.56 สร้างความเข้าใจและอัญเชิญพระราชดำรัส พระราชดำริ พระราชปรารภ พระราชวินิจฉัยและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริมาเผยแพร่ให้กับกลุ่มเกษตรกรและขยายเครือข่าย 3.วันที่ 25 ธันวาคม 2556 อบรมการสร้างวิทยากรประจำกลุ่ม 4.วันที่30 ธันวาคม 2556 ติดตามการดำเนินงานและประเมินผล ผลจากการดำเนินงานเกษตรกรเข้าใจในการดำเนินงาน พึ่งพาตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นได้ และมีไก่เหลืองหางขาวที่มีคุณภาพดีจำหน่ายสู่ลูกค้าและเครือข่าย เข้าใจและปฏิบัติตนเเบบพอเพียง | ค่าใช้จ่าย : 14,371 จำนวนผู้รับบริการ : 20 ปัญหาอุปสรรค : - แนวทางแก้ไข : - ไฟล์แนบกิจกรรม : |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates