หมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย วท.) : เป็นกลไกส่งเสริมให้
หมู่บ้าน/ชุมชน นำองค์ความรู้ด้าน วทน. ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก จนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ โดยเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2553 โดย รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้ สส.สป.วท. ดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย วท. ขึ้นภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านและชุมชน นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(วทน.) ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก จนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้านและชุมชนอื่นๆ โดยการดำเนินโครงการฯ มีการประสานความร่วมมือใน 4 ภาคส่วน คือ ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน รวมทั้งมีการส่งต่อบริการแบบครบวงจรตามแนวทางห่วงโซ่แห่งคุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ มีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ การลดค่าใช้จ่าย การขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท โดยกำหนดเป้าหมายของโครงการฯ คือ
1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย
กระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน วท. เพื่อยกระดับเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย วท. มีการกำหนดกรอบระยะเวลาการพัฒนาใน 3 ปี มีการบ่มเพาะองค์ความรู้ (Knowledge) สร้างทักษะความชำนาญ (Skill) ภายใต้เทคโนโลยีที่เหมาะสม(Appropriate Technology) ให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต (Productivity) การพัฒนาผลิตภัณฑ์(Product development) การบริหารจัดการ(Management) การพัฒนาแบบครบวงจรห่วงโซ่แห่งคุณค่า(Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์(Value added) รวมถึงการสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ การสังเกต การระบุปัญหา การทดลอง การจดบันทึก การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลและการสรุปผล เพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติ (Attitude) ที่ดีต่อการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปใช้ประโยชน์ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา) มาปรับใช้ ตามความเหมาะสมของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ควบคู่ไปกับฐานความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องไปด้วยกัน เพื่อผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาที่ยั่งยืน
กิจกรรมหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการบริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ และคณะทำงาน ดังแสดงในแผนภาพ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) มีบทบาทสำคัญใน การนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) ไปเพื่อการขับเคลื่อนและ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยการผลักดันนโยบายและยุทธศาสตร์ของทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การพัฒนากำลังคน การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างความตระหนัก ฐานความรู้และ ความเข้าใจ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (หมู่บ้านแม่ข่าย วท.) เริ่มดำเนินโครงการ เมื่อปี พ.ศ.2552 ภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยี ของ วท. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้าน/ชุมชน นำองค์ความรู้ด้าน วทน. ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก จนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนอื่นๆ โดยการดำเนินโครงการฯ มีการประสานความร่วมมือใน 4 ภาคส่วน คือ ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาคเอกชน รวมทั้งมีการส่งต่อบริการแบบครบวงจรตามแนวทางห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ มีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (Value added) การลดค่าใช้จ่าย การขยายโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท โดยกำหนดเป้าหมายของโครงการฯ ให้มีหมู่บ้านแม่ข่าย วท. 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย ครอบคลุมทั้ง 878 อำเภอ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 15 ปี ( พ.ศ.2553 พ.ศ. 2568)
การดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย วท. จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2556) มีหมู่บ้านฯ ที่ได้รับ การคัดเลือกเข้าสู่กระบวนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน วทน . จำนวน 242 หมู่บ้าน 194 อำเภอ 65 จังหวัด มีหมู่บ้านฯ ที่สามารถพัฒนาตนเองเป็นหมู่บ้านแม่ข่าย วท. จำนวน 52 หมู่บ้าน ภายใต้ 6 กลุ่มเทคโนโลยี ได้แก่
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 นับเป็นอีกวันหนึ่งของความภาคภูมิใจของผู้นำหมู่บ้านและหน่วยงานที่ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านตลอดระยะเวลา 3 ปี จนสามารถยกระดับหมู่บ้านจากหมู่บ้าน วท. เป็นหมู่บ้านแม่ข่าย วท. โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อัจฉรา วงค์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มอบประกาศเกียรติคุณให้กับหน่วยงานเจ้าของโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย วท. และมอบเกียรติบัตรพร้อมโล่เชิดชูเกียรติให้กับหมู่บ้านที่ผ่านการประเมินสถานะหมู่บ้านในระดับแม่ข่าย จำนวน 52 หมู่บ้าน
ประเภทหมู่บ้าน | หมู่บ้าน วท.(ใหม่) อยู่รอด |
หมู่บ้าน วท.(ต่อเนื่อง) เข้มแข็งเติบโต |
หมู่บ้าน วท.(แม่ข่ายขยายลูก) ยั่งยืน |
---|---|---|---|
การพิจารณาโครงการ(คณะทำงานพิจารณาฯ) | คะแนนผ่านเกณฑ์ ไม่น้อยกว่า 70 |
|
|
กรอบการสนับสนุนงบประมาณ | 300,000 | 250,000 | 360,000 |
คะแนนประเมินสถานะหมู่บ้าน(คณะทำงานคัดเลือกฯ) | 30-60 | 61-80 | 81-100 |
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2566 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2023 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates