ความเป็นมา
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อกรอบนโยบายการพัฒนานาโนเทคโนโลยีของประเทศไทย
พ.ศ. 2555-2564 และแผนยุทธศาสตร์ความปลอดภัยและจริยธรรมนาโนเทคโนโลยี พ.ศ. 2555-2559 เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นนโยบายและแผนยุทธศาสตร์หลักด้านนาโนเทคโนโลยีของประเทศ โดยมีกลุ่มผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน เช่น เวชสําอางค์ ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว วัสดุเคลือบเพื่อผลิตเป็นสิ่งทอพื้นบ้านนาโน
ปัจจุบันมูลค่าตลาดไหมไทยส่งออกอยู่ที่ปีละประมาณ 2 ,000 ล้านบาท ขณะที่ตลาดในประเทศมีมูลค่าประมาณ 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวซึ่งไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอีกมหาศาลจากการนำหม่อนไหมไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น การผลิตผงไหมเพื่อนำไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ดีขึ้นจากเศรษฐกิจของครอบครัวที่ดีขึ้น ซึ่งนับเป็นมูลค่าที่ประเมินไม่ได้
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกลุ่มผู้ผลิตผ้าพื้นเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละจังหวัดก็มีผ้าประจำแต่ละจังหวัด เช่น กาฬสินธุ์ ผ้าไหมแพรวา ขอนแก่น ผ้าไหมมัดหมี่ ฯลฯ ดังนั้นการยกระดับผ้าพื้นเมืองของกลุ่มผู้ผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยเทคโนโลยีนาโน จึงเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ผลิต และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับผ้าทอพื้นเมือง เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน(ศวภ.2) จึงได้ร่วมมือกับทางศูนย์นาโนเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(ศน.พว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ แนวทางการสร้างเครือข่ายพันธมิตรสิ่งทอพื้นบ้านนาโน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast nano native textiles consortium)
กำหนดจัดงาน 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 1 กำหนดจัดวันที่ 26 มีนาคม 2558 ครั้งที่ 2 ประมาณเดือนมิถุนายน กิจกรรมดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มผู้ประกอบการทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย รวมทั้งผู้กำหนดนโยบายในจังหวัด ภาคเอกชนและนักออกแบบ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานผ้าทอพื้นเมืองได้เข้าใจทิศทางและการดำเนินงานเพื่อการส่งเสริมการใช้นาโนเทคโนโลยี อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ทําให้เกิดการศึกษาโจทย์ความต้องการและการกําหนดกลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ผลักดันให้เกิดการนําความรู้ทางด้านนาโนฯ ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์สู่ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ชุมชน และสังคม ผลักดันให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติสู่ภาคเอกชน
อย่างแท้จริงและเพิ่มขีดความสามารถของการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อนําไปสู่การแข่งขันทางการค้าและระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติโดยรวม
2. วัตถุประสงค์
3. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย 7 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร อุดรธานี และนครพนม ประกอบด้วย หน่วยงานในจังหวัด ผู้ประกอบการ(ผู้ผลิต/ผู้ขาย) นักออกแบบ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates