คำตอบ - คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เสนอให้เพิ่มมูลค่า โดยไม่กระทบต้นทุน และให้ทดลองหาวัสดุจากชุมชนใกล้เคียงมาใช้ในการสานตะกร้า
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสนอให้นำเศษวัสดุท้องถิ่นมาใช้ในการจักรสาน ซึ่งจะเกิดการใช้ประโยชน์และมีต้นทุนต่ำ อีกทั้งยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของชุมชน พัฒนาลวดลายให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย และสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน และควรลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง เพื่อจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ให้คำปรึกษาในการออกแบบลายใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายลูกปัดทราวดี พัฒนารูปแบบตะกร้าให้ดูทันสมัยตอบโจทย์วัยทำงาน เส้นที่ทอลายควรปรับให้เส้นเล็กลง และทดลองนำพืชชนิดอื่นหรือวัสดุอื่นมาใช้แทนหวายเทียม
- คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น ให้คำปรึกษาในการพัฒนาลวดลาย และผ้าที่ใช้บุด้านในควรมีราคาต้นทุนที่ต่ำลง
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ให้คำปรึกษาในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งสามารถทำได้ในกรณีบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งมากกว่าการขายหน้าร้าน เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ อีกทั้งตัวผลิตภัณฑ์เองในลักษณะการจำหน่ายต้องเป็นการโชว์ลวดลายหรือตัวผลิตภัณฑ์ ดังนั้นแนะนำให้มีป้ายแสดงรายละเอียดสินค้า (Tag) ตัวผลิตภัณฑ์สามารถพัฒนาลวดลายในลักษณะของการสานให้เกิดลายใหม่ที่สะท้อนความเป็นพื้นที่ เอกลักษณ์ ศิลปะวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดการจดจำ การเผยแพร่ หรือการผสมผสานการใช้วัสดุจากเดิมเป็นหวายเทียมกับวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น หรือเพื่อสร้างจุดเด่นให้มีเรื่องราวในการต่อยอดเรื่องการตลาดต่อไป
บริการโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
399 ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300
โทร. 0 2665 3777, 3888 ต่อ 8203
เว็บไซต์. http://www.clinictech.rmutp.ac.th
เครือข่ายที่ร่วมให้คำปรึกษา ไม่พบข้อมูล
ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมให้คำปรึกษา ไม่พบข้อมูล
ข้อเสนอแนะ ติชม(Feedback) : ไม่พบข้อเสนอแนะท่านสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) การให้บริการของเราได้โดยผ่านช่องทางนี้ ให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นได้ที่นี่ หากไม่เป็นการเสียเวลาท่านผู้รับบริการขอความกรุณาตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของการให้บริการด้านล่าง
