คำตอบ "1. ปัญหาเทคโนโลยีที่เข้ามาของรับ
จากการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกแกง
พื้นบ้าน และการแปรรูปถั่วเหลือง (เชิงภูมิปัญญาท้องถิ่น) รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับ สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร กระบวนผลิตน้ำพริกแกงแบบปลอดภัย การชั่งตวงวัดสำหรับกระบวนการผลิต รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้กลุ่มยังสนใจในการพัฒนาและยกระดับการผลิตภัณฑ์น้ำพริกและพริกแกงออกสู่ท้องตลาด ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นไปตามความต้องการของตลาด สร้างความสะดวกต่อการบริโภคในรูปแบบของน้ำพริกอัดก้อน และน้ำพริกผงกึ่งสำเร็จรูป ตามลำดับ จึงได้ขอรับการปรึกษาเชิงอบรมพร้อมการฝึกปฏิบัติการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์น้ำริกแกงอัดก้อน ดังกล่าว ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูน และพัฒนาทักษะการผลิตน้ำพริกแกงอัดก้อน การควบคุมคุณภาพที่จำเป็น การจัดการกระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มศักยภาพการผลิตในอนาคต
2. กระบวนการให้คำปรึกษา
1. การสนทนาแบบกลุ่ม การวิเคราะห์องค์ความรู้ความเข้าใจและการพัฒนาต่อยอดฐานความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำพริกและพริกแกงหลากหลายประเภทที่กลุ่มผู้ผลิตหรือชุมชนมีอยู่
2. การบรรยายประกอบการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับกระบวนการผลิตน้ำพริกแกงอัดก้อน
3. การนำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้งในรูปแบบน้ำพริกแกงอัดก้อน และน้ำพริกแกงแบบผงสำเร็จรูป
4. การประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ตามศักยภาพเพื่อเพิ่มอัตราการผลิต บนพื้นฐานการจัดการ และสุขลักษณะการผลิตที่ดี และเหมาะสม
5. การสนทนาแนวทางการพัฒนาและยกระดับการประยุกต์ใช้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์พริกแกงร่วมกับผักพื้นบ้านกึ่งสำเร็จรูป
3. ผลการให้คำปรึกษา
1.การผลิตภายใต้ มาตรฐานเกี่ยวกับวัตถุดิบที่ดี การควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการเดิมที่ใช้ในปัจจุบัน (ไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายหรือ สร้างภาระต้นทนเดินความจำเป็น
2. การประยุกต์ใช้ความรู้ เกี่ยวกับ สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร กระบวนผลิตน้ำพริกแกงแบบปลอดภัย
3. การปรับใช้เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์น้ำพริกและพริกแกงอัดก้อน รวมทั้งผลิตภัณฑ์แบบผงกึ่งสำเร็จรูป เช่น การลดขนาดด้วยเครื่องโม่หรือปั่นทดแทนการโขลก การลดความชื้นก่อนการขึ้นรูป/ อัดก้อน และรูปแบบการจัดการการขึ้นรูปด้วยพิมพ์ / บลอค
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาและยกระดับการประยุกต์ใช้น้ำพริกแกงอัดก้อน หรือน้ำพริกแกงผงกึ่งสำเร็จรูปร่วมกับผักพื้นบ้านกึ่งสำเร็จรูป
4. แนวทางการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการผลิตวัตถุดิบ ส่วนผสมที่ปลอดภัยในท้องถิ่นเพื่อนำมาทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำพริก / พริกแกง อัดก้อนและแบบผงกึ่งสำเร็จรูป
"
บริการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลำปาง 200 หมู่ 17 ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง 52000
โทร. 054-342547-8 ต่อ 112
เว็บไซต์. http://www.lpc.rmutl.ac.th/clinictech
เครือข่ายที่ร่วมให้คำปรึกษา ไม่พบข้อมูล
ผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมให้คำปรึกษา ไม่พบข้อมูล
ข้อเสนอแนะ ติชม(Feedback) : ไม่พบข้อเสนอแนะท่านสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) การให้บริการของเราได้โดยผ่านช่องทางนี้ ให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นได้ที่นี่ หากไม่เป็นการเสียเวลาท่านผู้รับบริการขอความกรุณาตอบแบบสำรวจความพึงพอใจของการให้บริการด้านล่าง
