![]() |
STI Changemakers 2565 ![]() เขียนโดย : นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ |
ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ STI Changemakers 2565
จากประสบการณ์การสนับสนุนนักสร้างการเปลี่ยนแปลง พบว่าการตั้งคำถามให้ถูกต้อง เหมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโครงการหรือกิจการเพื่อสังคม การใช้เวลาตั้งคำถามให้ถูก หาให้เจอว่าปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่ไหน เป็นสิ่งที่ฟังดูธรรมดา แต่กลับทำยากที่สุดในกระบวนการแก้ปัญหาเพราะคนส่วนมากมักจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาในใจมาอยู่แล้ว เมื่อลงมือทำจริงอาจจะเห็นแค่ action ไม่เห็น impact และคาดหวังได้แค่ output แต่ไม่ใช่ outcome หากเราศึกษาการสร้างนวัตกรรม การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (เช่นปัญหาสังคม/ชุมชน หรือปัญหาชีวิตคน) การค้นหาปัญหาให้ถูกเป็นกระบวนการที่ใช้เวลากว่า 30% ของเวลาทำงานทั้งหมด
ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาเชิงลึก (Insight Tanks) โดยทักษะและเครื่องมือที่ท่านจะได้ฝึกฝนในระหว่างเข้าร่วมโครงการ ได้แก่
• เครื่องมือการทำความเข้าใจปัญหาเชิงซ้อน (Complex Problem) ประกอบไปด้วย 5 บทเรียน ที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่ Insights ในการออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาและสร้างนวัตกรรม เช่น การ Scope ปัญหา , การเก็บข้อมูลเชิงลึก , การสัมภาษณ์ และการสังเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
• ทักษะการหา Insights เช่น Empathy การเข้าอกเข้าใจ , Critical Thinking การคิดเชิงวิพากษ์ใช้ในการทำความเข้าใจปัญหาเชิงซ้อน และสังเคราะห์ข้อมูล การตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก
• ได้กรอบประเด็นหรือแนวทางปัญหา ความท้าทายในชุมชนที่ชัดเจนขึ้น เพื่อนำไปพัฒนาเขียนข้อเสนอโครงการต่อไป
• ได้มองเห็นช่องว่าง โอกาส และ Insight ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชนที่สามารถวัดผลกระทบทางสังคมได้
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วม
1. มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ อยากเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทำความเข้าใจปัญหาเชิงลึก ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานชุมชน
2. อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนอย่างยั่งยืนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
3. มีประเด็นที่ทีมสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม
4. มีสมาชิกในทีม 3-5 คน
5. สนใจส่งข้อเสนอโครงการเพื่อพิจารณาขอรับทุนในปี 2566
6. หากมีโค้ชประจำทีมสมัครเข้าร่วมใน STI Coach for Changemakers จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ (ทั้งนี้หากไม่มีโค้ชสมัครมา สามารถกรอกใบสมัครเข้ามาเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความตั้งใจ)
รูปแบบและเงื่อนไขการเรียนรู้
1. ผู้เรียนสามารถเข้าสู่ระบบและเรียนออนไลน์ด้วยตนเองตามเวลาที่สะดวกระหว่างสัปดาห์ โดยจะต้องส่งการบ้านตรงตามเวลาที่กำหนดในแต่ละสัปดาห์
2. แต่ละทีมจะมีโค้ชประจำทีมคอยช่วยเหลือ ตอบคำถามต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาการเรียนรู้
3. สามารถนัดประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตามวันและเวลาที่ทีมและโค้ชสะดวก
4. ผู้เรียนจะต้องส่งการบ้านให้ครบทุกครั้งตามระยะเวลาที่กำหนดจึงจะได้รับใบประกาศนียบัตร
ระยะเวลา : 28 มิถุนายน – 13 สิงหาคม 2565
ระยะเวลารวม 20 ชั่วโมง (เฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์)
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ :
* หัวหน้าทีมเป็นผู้กรอกใบสมัครคนเดียว
** กรุณาเตรียมข้อมูลสมาชิกในทีมให้พร้อมก่อนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มนี้ กรอกข้อมูลและบันทึกเป็นไฟล์ .xls เพื่ออัพโหลดในใบสมัคร
https://docs.google.com/spreadsheets/d/1HvhOzvjGKtyPvcNRU1DJ58ZflBBhNQdW19yQaTSiuDs/edit?usp=sharing
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : ออม ome@schoolofchangemakers.com Line ID: omeprano
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates