![]() |
นวัตกรรมกสนเฝ้าระวังผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมจากการทำนาข้าวแบบอินทรีย์ ![]() เขียนโดย : น.ส.ศิริเบญจารัตน์ ฮาวต่อมแก้ว |
รายงานการวิจัย
เรื่อง
นวัตกรรมการเฝ้าระวังผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมจากการทำนาข้าวแบบอินทรีย์
An Innovative Participatory Monitoring For Environmental Impact of Organic Rice Field Farming
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพดิน น้ำ ในพื้นที่นาข้าวอินทรีย์ที่ได้รับรองมาตรฐานและพื้นที่นาข้าวดั้งเดิมเพื่อประเมินคุณภาพดินและน้ำทางชีวภาพในพื้นที่นาข้าวอินทรีย์โดยใช้สัตว์หน้าดินไม่มีกระดูกสันหลังแม่น้ำท่าจีนของพื้นที่จังหวัดนครปฐมและจังหวัดสุพรรณบุรี โดยเก็บตัวอย่างทั้งหมด 3 ครั้งโดยแบ่งสถานีเก็บตัวอย่างออกเป็นจังหวัดละ5 สถานี โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างของ MRC Technicalและประเมินดัชนีทางชีวภาพ โดยจำแนกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ตามการให้คะแนน BMWPthai Score ของสัตว์หน้าดินทั่วไป พบว่า คุณสมบัติบางประการของน้ำ คุณภาพน้ำทางกายภาพและเคมีในบางฤดูกาลมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน แต่ค่าเฉลี่ยในรอบปี พ.ศ.2562 พบว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน ซึ่งจัดอยู่ในคุณภาพน้ำประเภทที่ 3 สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพน้ำทางชีวภาพใช้วิธีดัชนีทางชีวภาพ โดยนำสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มาเปรียบเทียบดัชนีทางชีวภาพแบบ ASPT พบว่าค่า ASPT จัดอยู่ในคุณภาพน้ำประเภทที่ 3 ระดับ ปานกลาง และมีการใช้ประโยชน์งานวิจัยโดยเผลแพร่ระบบสารสนเทศให้กับสำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนำไปให้ความรู้กับชุมชน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2022 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates