![]() |
EP.2 หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาช่อนแบบครบวงจรบ้านห้วยคันแหลน
เขียนโดย : นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ |
รายการวิถีวิทย์...พิชิตชุมชน EP.2 หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาช่อนแบบครบวงจรบ้านห้วยคันแหลน นำทีมโดย นายเจษฎา อิสเหาะ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์หันตรา
ติดตามรายการย้อนหลังได้ที่
เบื้องหลังความสำเร็จของการถ่ายทอดสด
#อีกหนึ่งโครงการที่ได้รับโอกาสให้ร่วมทีม🥰#กราบขอบพระคุณท่าน รศ.ดร.เจษฎา อิสเหาะ หัวหน้าโครงการเป็นอย่างสูงที่ให้โอกาส มองเห็นศักยภาพและบ่มเพาะองค์ความรู้ด้านการทำวิจัยต่างๆให้และขอบคุณท่าน ผศ.ดร.สุภาวดี โกยดุลย์ ผศ.พรเทพ แก้วเชื้อ ทั้ง3ท่านได้คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ ช่วยเหลือตลอดมา🥰🥰#กราบขอบพระคุณแม่ไก่ รวีวรรณ ลิ้มเจริญธัญญะผล น้องจักรพันธ์และแม่ๆฝ่ายแปรรูปที่ส่วนใหญ่วัยมากกว่า60+ที่ยอมเปิดใจ##กระบวนการเรามีไม่มากแต่ใช้ใจและเวลาแลกมา[1]กระบวนการสำรวจชุมชนซึ่งเราพอรู้มาบ้างแต่ยังไม่หมด นักวิจัยต้องเข้าใจบริบทของกลุ่ม เราเข้าไปแบบลูกหลาน ไปขอความอนุเคราะห์ ขอโอกาสใช้พื้นที่ในการบริการองค์ความรู้ที่เรามีโดยไม่มีเจตนาทำให้กลุ่มเดือดร้อน ไม่หวังประโยชน์และผลตอบแทนจากกลุ่ม ทำให้ชุมชนเห็นได้ใจชุมชนและ ได้รู้บริบทชุมชน[2]เมื่อกลุ่มเปิดใจ ยอมรับฟังบอกเล่าปัญหาและให้โอกาส เราเดินหน้าเรียนรู้กระบวนการโดยการสังเกตพฤติกรรม วีธีการ กระบวนการแบบนักวิทยาศาสตร์ เก็บตัวอย่างไปวิเคราะห์และตรวจสอบที่แลปปฏิบัติการของเรา #มทร.สุวรรณภูมิ จากนั้นนำผลการทดสอบแจ้งสู่กลุ่มชุมชน บอกแนวทางแก้ไขโดยใช้ กระบวนการ##วทน.ทำให้เห็นและเปรียบเทียบก่อนและหลังเปลี่ยนแปลง [3]โจทย์/ปัญหาอื่นเรานำกลับมาสู่การ##บูรนาการกับการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เราใช้รายวิชาโครงการปัญหาพิเศษในการวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาเป็นหลัก##จากนั้นเราถ่ายทอดสู่การทำจริงในรายวิชาต่างๆทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในหัวข้อและวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องแบบบูรนาการ ได้แก่ รายวิชาการแปรรูปอาหาร วิเคราะห์คุณภาพอาหารด้านกายภาพ เคมี จุลินทรีย์ sensory และองค์ความรู้จากรายวิชาทฤษฎีด้านวิทยาศาสตร์ฯการอาหาร มาตรฐานและกฎหมายอาหาร จาการบูรนาการ##นักศึกษาของเราได้เรียนรู้ได้ทำได้ฝึกประสบการณ์และการแก้ปัญหาอย่างนักวิทยาศาตร์[4]เมื่อได้สูตร กระบวนการ และวิธีการที่เหมาะสมเรา #นำนักศึกษาเอาองค์ความรู้และผลงานจากการบ่มเพาะจากมหาวิทยาลัยลงพื้นที่สู่ผู้ใช้ประโยชน์ที่แท้จริง ในฐานะ##ผู้ช่วยนักวิจัยทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนอย่างมั่นใจ เด็กๆภูมิใจ ชุมชนเอ็นดู เกิดการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ปรับปรุงทั้งกระบวนการที่เป็นจุดเสี่ยงต่อคุณภาพ สูตรและวิธีการปฏิบัติ ผลจากกระบวนการนี้ #ชุมชนได้สูตร กระบวนการ วิธีการที่เหมาะสม ได้ตราสินค้า ฉลากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถถนอมและยืดอายุการเก็บรักษาทำให้เก็บได้นานขึ้นผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อ #นักศึกษาได้เรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้##โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด [5]เกิดการยอมรับ มุ่งมั่น ตั้งใจ #โจทย์ปัญหา/ความต้องการที่เหลือของชุมชนก็ง่ายต่อการพัฒนาในอนาคต##ในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์ทีมนักวิจัยทุกท่านนักศึกษาจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ที่ท่านสละเวลาไปเป็นวิทยากรถ่ายทอด วทน. ร่วมทำวิจัย วิเคราะห์ พัฒนาสูตร กระบวนการ วิธีการ #ขอบคุณอ.เตย ที่ช่วยเป็นวิทยากรและออกแบบฉลากสินค้าทำให้ผลงานออกมาเป็นที่พอใจของกลุ่มค่ะ #ขอบคุณหัวหน้าสาขาวิชา #ผู้บริหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.สุวรรณภูมิ #ผู้บริหาร #มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ที่เข้าใจและสนับสนุนบุคลากรขององค์กรได้ทำงานอย่างเต็มที่ #ขอบพระคุณท่านอาจารย์หลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยนามที่ได้บ่มเพาะประสบการณ์ขอน้อมรับและจะพัฒนาตนเอง ยิ่งๆขึ้นต่อไปค่ะ
#ขอบพระคุณ อว.สป. ผอ.เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ที่สนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาโครงการค่ะ
#ปล.บันทึกไว้เป็นกำลังใจและไว้เขียนผลงานต่อไปค่ะ
[วันที่ : 1/2/2564]
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โทรศัพท์ : 0-2333-3917,3918 โทรสาร 0-2333-3931
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ใช้สัญญาอนุญาต ครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงที่มา 3.0 ประเทศไทย สามารถทำซ้ำดัดแปลงและเผยแพร่ต่อได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต ตราบเท่าที่ระบุว่ามาจากเว็บไซต์แห่งนี้
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สงวนลิขสิทธิ์ © 2564 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี | Copyright © 2021 - All Rights Reserved - http://www.clinictech.ops.go.th
Template by OS Templates